วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่12

ใบงานที่ 12 การใช้โปรแกรม spss
ส่วนประกอบหลักของ
SPSS FOR WINDOWS
-Title Bar บอกชื่อไฟล์
-Menu Bar คำสั่งการทำงาน
-Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร
-Cases ชุดของตัวแปร
-Variable กำหนดชื่อตัวแปร
-View Bar มีสองส่วน
--Variable View
สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร
--Data View
เพิ่มและแก้ไขตัวแปร
-Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน
เปิด SPSS Data Editor
File -> New -> Data
กำหนดชื่อและรายละเอียด
จากหน้าจอ Variable View
ป้อนข้อมูล Data View
บันทึกข้อมูล
File -> Save
การกำหนดชื่อและรายละเอียดตัวแปร
ที่หน้าจอ SPSS Data Editor เรียกหน้าจอ Variable View ทำได้ 2 วิธี
1. ดับเบิลคลิกตรงคอลัมน์ของบรรทัดแรก
2. คลิกแถบ Variable View ที่อยู่ด้านล่าง
เมื่อได้หน้าต่างของ Variable View
1. Name ชื่อตัวแปร ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Name เช่น Sex
2. Type ประเภทของตัวแปร
เลือก Numeric Width=1 Decimal Places=0 คลิกปุ่ม OK
3. Label กำหนดข้อความขยายชื่อตัวแปร เพื่ออธิบายชื่อตัวแปรและแสดงออกทางผลลัพธ์
ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Label เช่น เพศ
4. Values กำหนดคำอธิบายให้กับค่าตัวแปร
5. Missing กำหนดค่าที่ไม่นำไปวิเคราะห์ มี 2 แบบ
5.1 User Missing ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด เช่น 9, 99, 999, …
5.2 System Missing โปรแกรมจะกำหนดให้เอง
6. Column จำนวนความกว้างของคอลัมน์ คือจำนวนความกว้างมากสุดของ ค่าตัวแปร หรือ ชื่อตัวแปร หรือ label ตัวแปร
จากตัวอย่าง ชื่อตัวแปร และ label ตัวแปร มีความกว้างมากสุดเท่ากับ 3
ให้พิมพ์ 4 (ความกว้างมากสุดเท่ากับ 3 บวกเผื่อไว้ 1)
7. Align ให้แสดงค่าตัวแปร ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา
8. Measure ระดับการวัดของข้อมูล
7.1 Scale (Interval, Ratio)
7.2 Ordinal
7.3 Nominal
ให้กำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรให้ครบทุกตัว
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies
2. จากนั้นเราจะได้กรอบ Frequencies
กรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็นตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
3. เราจะเลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไปอยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร
4.คลิกปุ่ม Statistics แล้วจะได้กรอบ Frequencies Statistics
5. เลือกประเภทการวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ Central Tendency และ Dispersion โดยส่วน Central Tendency เลือก Mean, Median, Mode, Sum และส่วน Dispersion เลือก Std. deviation, Minimum, Maximum
เลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Continue
เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics
6. ต่อไปให้คลิกปุ่ม Charts จะได้กรอบ Frequencies Charts
ในส่วน Frequencies Charts นี้ท่านสามารถเลือก Chart Type ว่าต้องการเป็น Charts ชนิดใด ในที่นี้ให้เลือก Bar charts แล้วคลิก Continue
7. เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statisticsจากนั้นคลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล

ใบงานครั้งที่ 1

1. ความหมายและความสำคัญของการจัดการการจัดการ (Management) หมายถึง การร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันของกลุ่มบุคคล ในการดำเนินงานเพื่อให้ได้ผลออกมาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ร่วมกันโดยมีลักษณะที่สำคัญ คือ
มีเป้าหมาย (Goal) หรือวัตถุประสงค์ (Obiectives) ที่ตั้งไว้ร่วมกันอย่างชัดเจน
มีทรัพยากรในการบริหาร (Resource) ซึ่งมีจำกัด
มีการแบ่งงานกันทำ (Division) ตามความรู้ความสามารถ
การจัดการ (Management) มีความหมายเหมือนกันกับคำว่า การบริหาร แต่ลักษณะการสื่อ
ความหมายของคำนี้มีความแตกต่างกัน คือ
การจัดการ มีความหมายเป็นการปฏิบัติงานหรือดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย นิยมใช้สำหรับการบริหารงานขององค์กรทางธุรกิจเอกชน
การบริหาร สื่อความหมายว่าเป็นการบริหารระดับสูงที่เป็นระดับการกำหนดนโยบาย หรือวางแผน และมักนิยมใช้สำหรับการบริหารงานของราชการ


2.ความหมายนวัตกรรมคำว่า "นวัตกรรม" หรือ นวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Innovation" โดยคำว่า นวัตกรรม มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว+อตต+กรรม กล่าวคือ นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมคำ นว มาสนธิกับ อัตต จึงเป็น นวัตต และ เมื่อรวมคำ นวัตต มาสมาส กับ กรรม จึงเป็นคำHughes (1971) อธิบายว่า นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การคิดค้น (invention)
2. การพัฒนา (Development)
3. นำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลเแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ การกระทำของตนเองที่ใหม่
นวัตกรรมหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้
1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย
2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม


3. ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาGood (1973 : 592) หมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน มากกว่ายึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิค การสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่าง ๆ ในลักษณะของสื่อประสมและการศึกษา ด้วยตนเอง
วิจิตร ศรีสะอ้าน (2517 : 120 - 121)
เป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน
ในความหมายอย่างกว้าง ๆ แล้ว เทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นคำซึ่งรวมถึงทรัพยากรใด ๆ ก็ตามที่ใช้ในการให้ การศึกษาแก่ผู้เรียน โดยอาจรวมถึงวิธีการ เครื่องมือหรือกระบวนการ จึงสรุปได้ว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" เป็นคำที่ใช้หมายถึงการนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมในแต่ละยุค


4. ความหมายของข้อมูลข้อมูล (data) ก็คือเหตุการณ์ที่ปรากฎขึ้นจากการทำงานหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ดังลักษณะของทรัพยากรข้อมูล ดังนี้
1. แบบฟอร์มต่าง ๆ
2. สมุดบัญชี สมุดบันทึกต่าง ๆ รวมถึงบัตรลงบันทึกการทำงาน
3. แฟ้มจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ
4. รายงานข้อสนเทศ รายงานงบดุล/บัญชีการเงินทั้งองค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของส่วนราชการต่าง ๆ ในองค์กร

5. สารสนเทศ
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้


6. ระบบสารสนเทศ (Information System )

หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมูลนั้นกลายเป็นสารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง


7. ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เป็นการนำข้อมูลทางการศึกษาผ่านระบบสื่อสาร เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การรับข่าวสารข้อมูลทันสมัยได้รวดเร็วเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต


8.การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่งไป (ผู้ส่งสาร)ไปยังบุคคลอื่น(ผู้รับสาร)โดยผ่านสื่อต่างๆ


9. เครือข่าย (Network) เป็นรูปแบบทางสังคมที่เปิดโอกาสให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์การเพื่อการแลกเปลี่ยน การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และการร่วมกันทำงานโดยมีฐานะเท่าเทียมกัน


10.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูล และการสื่อสาร นับตั้งแตการสราง การนํามาวิเคราะห์หรือประมวลผลการรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บ และการนําไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้ มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์(hardware) ส่วนคําสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และระบบการสื่อสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียม หรือเครื่องมือสื่อสารใดๆ ทั้งมีสายและไร้สาย”


11. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา หมายถึง การนำ เอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อกัน สำ หรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล และมัลติมีเดียเกี่ยวกับความรู้ โดยผ่านกระบวนการประมวลหรือจัดทำ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและความสะดวกมาใช้ประโยชน์สำ หรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้คนไทยสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

ใบงานที่ 9

ให้นักเรียนสรุปคุณลักษณะของผู้บริหารแบบมืออาชีพในยุคปัจจุบันนักศึกษาคิดว่าน่าจะไปอย่างไร ขอให้เขียนตอบลงใน Webboard แต่ละคน ในใบงานที่ 9

คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ
1.ความหมาย
มืออาชีพ หมายถึง การทำงานด้วยความรู้ความสามารถ ความตั้งใจจริงและทำงานให้เกิดผลงานดีที่สุด
2.คุณลักษณะของการเป็นมืออาชีพ
คือ คุณลักษณะหรือพฤติกรรมของผู้ประกอบอาชีพที่มีแนวปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความ สำเร็จ เช่น ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน ตรงต่อเวลา เป็นคนเก่ง เป็นคนดี มีความกล้าหาญ รับผิดชอบ ตัดสินใจอย่างชาญฉลาด สุภาพ ตรงต่อเวลา รู้จักแสวงหากัลยาณมิตร ใช้คุณธรรมเป็นเครื่องชี้นำอาชีพ ฝึกฝนพัฒนาตนเองอยู่เสมอเป็นต้น
3.นัก บริหารมืออาชีพ คือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงาน กิจการต่าง ๆ ให้สำเร็จ โดยอาศัยความรู้ความสามารถของตนเองและความร่วมมือของผู้อื่น ลักษณะเด่นของผู้บริหารมืออาชีพมีดังนี้
3.1 มีความรอบรู้ทันต่อเหตุการณ์
3.2 มีการตัดสินใจที่ดี รวดเร็ว แม่นยำและถูกต้อง
3.3 จับประเด็นได้รวดเร็ว ออกความเห็นได้
3.4 ยอมรับการเปลี่ยนแปลงพร้อมที่จะปรับตัว
3.5 มีระเบียบ ละเอียดรอบคอบ เคร่งครัดเรื่องเวลา
3.6 ซื่อสัตย์มีคุณธรรม ยึดมั่นในจรรยาวิชาชีพ
3.7 เชื่อมั่นในตนเอง มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถประสานงานได้เยี่ยม
สืบค้นจาก http://www.ketkwanchai.info/ebook2/f6.htm

ใบงานที่ 8

ตามที่อาจารย์ให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับการใช้การใช้โปรแกรม SPSS OF WINDOWS ทบทวนพื้นฐานโดยให้นักศึกษาสรุปหัวข้อประเด็นดังนี้
1.ความหมายคำว่าสถิติ อ่านความหมายจากนักวิชาการหลาย ๆท่านแล้วสรุปเป็นความคิดของนักศึกษา
2.ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความหมายว่าอย่างไร และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด
3.คำว่าประชากร และกลุ่มตัวอย่างเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ให้อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
4.นามบัญญัติ ระดับอันดับที่ ระดับช่วง ระดับอัตราส่วน ท่านเข้าใจอย่างไร อธิบายสั้น ๆ
5.ตัวแปรคืออะไร ตัวแปรต้นคืออะไร ตัวแปรตามคืออะไร
6.สมมติฐาน คืออะไร สมมติฐานการวิจัยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
7. T-test, F-test เหมือนหรือต่างอย่างไร
ให้นักศึกษาตอบลงในWebboard ของนักศึกษาเอง ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติในเสาร์หน้า ทำให้เสร็จก่อนเรียน มีคะแนนให้ ใช้ความคิคจากการที่อ่านและศึกษาจาก http://www.google.co.th/
ตามที่อาจารย์ให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับการใช้การใช้โปรแกรม SPSS OF WINDOWS ทบทวนพื้นฐานโดยให้นักศึกษาสรุปหัวข้อประเด็นดังนี้1.ความหมายคำว่าสถิติ อ่านความหมายจากนักวิชาการหลาย ๆท่านแล้วสรุปเป็นความคิดของนักศึกษา
ตอบสถิติ หมายถึง ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข เช่นสถิติการสมัครเข้าเรียนในสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี ปีการศึกษา 2549

สถิติในความหมายของศาสตร์ หรือ เรียกว่า “สถิติศาสตร์” หรือวิชาสถิติเป็นวิชาแขนงหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่ว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การตีความหรือการแปลความหมายของข้อมูล
สถิติเป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดกระทำกับข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 สถิติพรรณนา เป็นวิชาสถิติที่ว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้นและผลที่ได้จะยังไม่นำไปสรุปความหรือกล่าวอ้างอิงถึงกลุ่มอื่น เช่น 1.1.1 การแจกแจงความถี่ของข้อมูล
1.1.2 การวัดการกระจาย
1.1.3 การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
1.2 สถิติอนุมาน เป็นสถิติที่ว่าด้วยการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยมี จุดประสงค์เพื่อสรุปอ้างอิงผลไปสู่ข้อมูลประชากร
1.2.1 การประมาณค่า
1.2.2 การทดสอบสมมติฐาน

2.ตอบ
ฐานนิยม (Mode)หมายถึง ค่าที่มีความถี่มากที่สุด
ค่าเฉลี่ยค่าเฉลี่ย (Mean : X)
X = ΣX/n

ตอบ ค่ามัธยฐาน ค่ากลาง หมายถึง ค่าที่ใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลทั้งหมด
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นค่าที่บอกให้ทราบว่า ค่าวัดการกระจายห่างจากค่าเฉลี่ยมากน้อยเพียงใดในแต่ละช่วงของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ถ้ามีค่าสูงแสดงว่ามีการกระจายมาก
ภายใน 1 ช่วงของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่เบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ย จะมีจำนวน(คน/ข้อมูล) อยู่ในช่วงนั้นประมาณ 68%
และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด3.คำว่าประชากร และกลุ่มตัวอย่างเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ให้อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบประชากร (Population)
หน่วยของข้อมูล (Element หรือบางครั้งเรียก Unit of Data) ทุกหน่วยที่อยู่ในขอบเขตของข้อมูลวิจัย
ตัวอย่าง : การวิจัยเรื่องเจตคติของอาจารย์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานีที่มีต่อการจัดกิจกรรมวันลอยกระทง
หน่วยข้อมูล : อาจารย์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี แต่ละคน
ประชากร : อาจารย์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี ทุกคน
ตัวอย่าง : การวิจัยเรื่องเจตคติของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานีที่มีต่อการจัดกิจกรรมวันลอยกระทง
หน่วยข้อมูล : อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี แต่ละคน
ประชากร : อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี ทุกคน
4.นามบัญญัติ ระดับอันดับที่ ระดับช่วง ระดับอัตราส่วน ท่านเข้าใจอย่างไร อธิบายสั้น ๆ5.ตัวแปรคืออะไร
ตอบตัวแปรการวิจัย คือ คุณลักษณะ/ปรากฏการณ์ ที่เปลี่ยนจากคนหนึ่ง (สิ่งหนึ่ง) ไปยังอีกคนหนึ่ง(สิ่งหนึ่ง) สามารถสังเกตได้ บันทึกได้ โดยใช้ข้อความ หรือ ตัวเลข เช่น
1. เพศ (มี 2 ค่า คือ ชาย,หญิง)
2. คะแนน (1,2,3,................)
3. ศาสนา( พุทธ/ คริตสเตียน /อิสลาม.....)
ตัวแปรต้นคืออะไร
ตอบตัวแปรแบ่งตามลักษณะการเกิด
1.ตัวแปรตาม(Dependent Variable)
ตัวแปรที่มีผลจากตัวแปรต้น ค่าของตัวแปรตามจะเปลี่ยนไปตามปัจจัยในตัวแปรต้น
2. ตัวแปรอิสระ หรือ ตัวแปรต้น (Independent Variable)
ตัวแปรที่เป็นเหตุให้ตัวแปรตามเปลี่ยนแปลงไป
3. ตัวแปรเกิน (Extraneous Variable)
ตัวแปรที่อาจจะเป็นเหตุให้ตัวแปรตามเปลี่ยนแปลงไป
4. ตัวแปรแทรกซ้อน (Intervening Variable)
ตัวแปรที่แสดงบทบาทให้ตัวแปรตามเปลี่ยนไป นอกเหนืออำนาจของนักวิจัยจะควบคุมได้
ตัวแปรตาม คือ คะแนน (ประสิทธิภาพทางการเรียน)
ตัวแปรต้น คือ แบบเรียน (เป็นต้นเหตุที่นักวิจัยสนใจ นำมาศึกษา เพียงอย่างเดียว)
ตัวแปรเกิน คือ วิธีสอน ความสนใจ สติปัญญาของนักเรียน บรรยากาศในห้องเรียน ฯลฯ)
ตัวแปรแทรกซ้อน คือ ยังตอบไม่ได้ ต้องคอยสังเกตในช่วงดำเนินการวิจัย
6.สมมติฐาน คืออะไร สมมติฐานการวิจัยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบสมมติฐาน คือ การคาดคะเนอย่างมีหลักการว่า ผลการวิจัยน่าจะออกมาในรูปใด อันจะนำไปสู่การพิสูจน์ โดยการทดสอบทางสถิติ หรือวิธีอื่น ๆ ต่อไป แบ่งได้ 3 ชนิด คือ
1. สมมติฐานการวิจัย(Research Hypothesis)
2. สมมติฐานเชิงปฏิบัติการ (Operational Hypothesis)
3. สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)
7. T-test,ความหมาย
ตอบ เป็นเครื่องมือวัดทางพุทธิพิสัย(Cognitive Domain) ของมนุษย์ ใช้เมื่อต้องการวัดความรู้ความสามารถของคน หรือ ที่รู้จักกันในนามของข้อสอบนั่นเอง
ชนิดของแบบทดสอบ
1.แบบทดสอบไม่จำกัดเวลา (Power Test)
2.แบบทดสอบจำกัดเวลา (Speed Test)
3.แบบทดสอบกลุ่ม (Group Test)
4.แบบทดสอบรายบุคคล (Individual Test)
ตอบF-test คือการทดสอบหาค่าของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่สามตัวอย่างขึ้นไปต่างกับ t- tes เป็นการทอสอบจากข้อสอบให้นักศึกษาตอบลงในWebboard ของนักศึกษาเอง ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติในเสาร์หน้า ทำให้เสร็จก่อนเรียน มีคะแนนให้ ใช้ความคิคจากการที่อ่านและศึกษาจาก http://www.google.co.th/
เขียนโดย apichatwat53 ที่ 10:56 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้

1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545, สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
2 การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้, ดร.รุ่ง แก้วแดง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, สิงหาคม 2545
3 อ้างแล้วข้อ 2
4 คุรุสภา, เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษา, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2540

ใบงานที่ 7

ใบงานครั้งที่ 7
วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2552 ได้รู้จักวิธีการทำWebboard ให้สวยงาม อาทิ (1) การใส่ปฏิทิน (2) การใส่นาฬิกา (3) การทำสไสด์ (4) การปรับแต่งสีใน Webboard (5) การใส่เพลงลงใน Webboard ให้นักศึกษาสรุปแต่ละประเด็นย่อ ๆ ลงใน Webboard ของนักศึกษา อาจารย์จะอ่านแล้วสรุปให้คะแนน อนึ่งสำหรับนักศึกษาที่เปิด Webboard ของตนที่บนWebboradของอาจารย์ที่ Student_work แล้วไม่ได้หรือเปิดได้แต่ผลงานไม่คืบหน้าไม่ลำดับขั้นตอน ให้รีบปรับปรุงให้แล้วเสร็จก่อนปีใหม่ มีปัญหาปรึกษาเพื่อน ๆ หรืออาจารย์ได้

ใบงานที่ 6

ให้นักศึกษา เสนอวิธีการใช้ http://www.google.co.th/

1.ใช้ทำอะไรได้บ้าง
2.การค้นหาข้อมูลขั้นสูงมีวิธีการอย่างไร
3.Webที่ใช้ค้นหาข้อมูล นอกจาก google แล้วมีอะไรอีก บอกชื่อ Web
4.ให้กำหนดหมวดหมู่ในการค้นหาโดยใช้ google
นักศึกษาทำลงใน Web blogspot.com ของนักศึกษา พร้อมทั้งแสดงที่มาหรืออ้างอิงด้วย

ปัจจุบันการใช้งาน Internet จะปรากฏ Web Site ให้เราสามารถเยี่ยมชมได้มากมายหลายประเภท และได้มีการบรรจุข้อมูลข่าวสารอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเราต้องการค้นหาข้อมูลที่อยู่ในระบบ Internet1 เราอาจใช้อุปกรณ์ Tools ที่เรียกว่า ตัวค้นหา (Search Engire) โดยตัวค้นหา (Search Engire) นี้จะถูกบรรจุอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ เช่น www.google.com ,www.yahoo.com, www.lycos.com ในเอกสารนี้จะแนะนำถึงการใช้งานค้นหา (Search Engire) ของ www.google.com ซึ่งจำเป็นตัวค้นหา (Search Engire) ที่นิยมใช้มากสุดและมีฐานข้อมูล (data base) ของ Web Site ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีรูปแบบที่มีคำอธิบายการใช้งานเป็นภาษาไทยที่ Web Site www.google.co.th

เรา ลองมานึกดูว่า เว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลกมีมากมายเพียงใด หนึ่งล้านเว็บ พันล้านเว็บ หรือล้านล้านเว็บ คงเป็นการยากที่จะทราบได้ว่ามีเว็บอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด และยิ่งยากไปกว่านั้นคือจะค้นหาเว็บที่เราต้องการได้อย่างไร และนั่นคือที่มาของ Search Engine เครื่องมือดีๆ ที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
Search Engine เป็นเครื่องมือหรือโปรแกรมในการค้นหาเว็บต่างๆ โดยมีการเก็บ รายชื่อเว็บไซต์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของเว็บไซต์และนำมาจัดเก็บไว้ใน server เพื่อให้สามารถค้นหาและแสดงผลได้สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ บาง search engine อาจไม่ได้มีการเก็บข้อมูลใน server ของตัวเอง แต่อาจอาศัยข้อมูลจากเจ้าของ server นั้นๆ
ตัวอย่าง Search Engine ที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น sanook.com, siamguru.com, google.com, yahoo.com, msn.com, altavista.com, search.com เป็นต้น
วิธีการค้นหา
เพียงพิมพ์คำที่เราต้องการค้นหา หรือที่เราเรียกว่า Key Word และกดปุ่ม Search \
ประโยชน์ที่ได้รับจาก Search Engine
• ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
• สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
• สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
• มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
• รองรับการค้นหา ภาษาไทย

ใบงานที่ 5

ให้นักศึกษาไปศึกษา Web วัดผลดอคอม
http://www.watpon.com/
โดยให้นักศึกษาไปดาวน์โหลดเอกสารการใช้ SPSS Of Windows.
รายละเอียดการใช้โปรแกรม อ่านและศึกษาว่ามีปัญหาอะไร
จะมาแลกเปลี่ยนในสัปดาห์ถัดไป
การปรับตำแหน่งทศนิยมในผลลัพธ์ของ SPSS for Windows
โดยปกติโปรแกรม SPSS for Windows จะนำเสนอผลลัพธ์ในการวิเคราะห์สถิติต่าง ๆ ในรูปของตาราง และทศนิยมที่แสดงโดยมากจะเป็น 2 ตำแหน่ง แต่ในการวิเคราะห์ทางสถิติบางครั้ง ต้องการข้อมูลเบื้องต้นจากการวิเคราะห์ด้วย SPSS for Windows เพื่อมาใช้ในการคำนวณด้วยมือต่อไป อาจจะต้องการทศนิยมหลายตำแหน่ง เพื่อให้ผลการคำนวณเกิดความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด
ภาพประกอบ 1 ตารางผลลัพธ์จากการวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน
วิธีการปรับตำแหน่งทศนิยมสามารถทำได้ดังนี้
1. ดับเบิ้ลคลิกที่ตาราง
ภาพประกอบ 2 เมื่อดับเบิ้ลคลิกที่ตารางผลลัพธ์ที่ต้องการปรับตำแหน่งทศนิยม
2. คลิกเลือกเซลผลลัพธ์ที่ต้องการปรับตำแหน่ง ถ้าต้องการปรับหลายเซลสามารถทำได้โดยการกดปุ่ม [Ctrl] ค้างไว้แล้วคลิกเลือกเซลที่ต้องการปรับตำแหน่งทศนิยม ถ้าต้องการเลือกเซลเป็นช่วงที่อยู่ติดกันให้กดปุ่ม [Shift] ค้างไว้
ภาพประกอบ 3 เมื่อใช้ปุ่ม [Ctrl] หรือ [Shift] ช่วยในการเลือกเซลที่ต้องการปรับตำแหน่งทศนิยม
3. คลิกเมาส์ปุ่มขวา จะปรากฏเมนู ให้เลือกเมนู "Cell Properties..." จะปรากฏหน้าต่าง Cell properties
ภาพประกอบ 4 เมื่อคลิกเมาส์ปุ่มขวาจะปรากฏเมนูย่อย
4. ตรงช่อง Decimal ให้เลือกตำแหน่งทศนิยมตามต้องการ เมื่อเลือกได้แล้วให้คลิกปุ่ม Apply และปุ่ม OK เพื่อปรับตำแหน่งทศนิยมในตารางผลลัพธ์
ภาพประกอบ 5 ปรับตำแหน่งทศนิยมในช่อง Decimal ตามต้องการ
5. เซลในตารางผลลัพธ์ที่เลือกไว้ จะมีจำนวนตำแหน่งทศนิยมเปลี่ยนไป ให้คลิกพื้นที่ขาวด้านนอกหนึ่งครั้งเพื่อปิดหน้าต่างทั้งหมด
ภาพประกอบ 6 ผลลัพธ์ที่ได้จากการปรับตำแหน่งทศนิยม
เอกสารชุดนี้จัดทำโดย : ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. มีนาคม ๒๕๔๖

ใบงานที่ 4

ให้นักศึกษาค้นหาและสังเคราะห์แนวคิดเป็นของตนเอง ซึ่งมีคำดังต่อไปนี้
(1) การจัดการความรู้
(2) ขั้นตอนการจัดการความรู้
(3) แหล่งข้อมูล
(4) เครือข่ายการเรียนรู้
(5) สารสนเทศ

(1)การจัดการความรู้ หมายถึง กระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่ บุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่างๆ ที่องค์กรจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์กรอย่างสมดุล เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาองค์กร

สืบค้นจาก http://www.industry.go.th/km/Lists/KM/KM.aspx

(2)ขั้นตอนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง สืบค้นจาก http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html
(3)แหล่งข้อมูล
การค้นหาแหล่งข้อมูลของความรู้ที่ต้องการในห้องสมุด หนังสือ อินเตออร์เน็ต
(4)เครือข่ายการเรียนรู้
เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม
(5)สารสนเทศ
สารสนเทศ (information) [1] เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย

ใบงานที่ 3

ใบงานที่3 สรุปองค์การจัดการความรู้
การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม- ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรมบทบาทใหม่ของการบริหารทุนมนุษย์ การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) ต่างจากการบริหารทรัพยากรบุคคล ตรงที่เน้นความสำคัญของคุณค่าหรือมูลค่าของคนและสิ่งที่คนในองค์กรผลิตหรือสร้างขึ้นมา แต่ไม่ได้เน้นหน้าที่ด้านการบริหารงานบุคคล ดังนั้น การบริหารทุนมนุษย์จึงเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบของกระบวนวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล (Impact of People Management Practice) และความทุ่มเทพยายามของคนต่อความสำเร็จขององค์กร มืออาชีพหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลหมดความสำคัญ และอาจจะไม่จำเป็นต้องทำไป แต่อย่างไรหน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลก็ยังคงอยู่ต่อไป แต่ต้องทำอย่างมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และต้องมีการปรับบทบาทการบริหารทรัพยากรบุคคลเสียใหม่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปข้อมูล DATA - ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประเมินผล - กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานสารสนเทศ (Information )