วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทความเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

บทความการบริหารโรงเรียนเพี่อมุงสูความเปนเลิศ
การบริหารโรงเรียนเพื่อมุงสูความเปนเลิศ  จะเกิดขึ้นไดดวยวิธีการบริหารแบบบูรณาการ ในทุกขั้นตอนและทุกคนจะตองมีสวนเกี่ยวของ  เครื่องบงชี้หรือมาตรวัดจะอยูที่ผูบริหารซึ่งมีบทบาทสูงสุด ในการจัดระบบการศึกษาในระดับโรงเรียน ดังนั้น ผูบริหารโรงเรียนตองเปนผูที่มีความรูความเขาใจใน เรื่องการบริหารการศึกษา มีวิสัยทัศนที่กวางไกล  เพื่อกำหนดเปาหมาย กำหนดยุทธศาสตรในการจัด การศึกษาไดอยางเปนรูปธรรมและมีความเปนไปได  และที่สำคัญผูบริหารโรงเรียนจะตองรูและเขาใจถึง ภารกิจตลอดจนขอบขายงานที่รับผิดชอบอยางชัดเจน  ไดแก งานวิชาการ ซึ่งมีขอบขายงานเกี่ยวกับการ กำหนดหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน วัสดุประกอบการเรียนการสอน งานวัดและประเมินผล งานหองสมุด งานนิเทศภายใน งานวางแผนและกำหนดวิธีการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอน เปนตน งานบุคลากร มีขอบขายงานเกี่ยวกับการจัดบุคลากรเขาปฎิบัติงาน งานการพัฒนาบุคลากร งานธำรงรักษาบุคลากร  งาน รักษาระเบียบวินัย และงานประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร งานกิจกรรมนักเรียน มีขอบขายงาน เกี่ยวกับการปฎิบัติตาม พ.ร.บ.ของตัวผูเรียน งานเตรียมความพรอมสำหรับนักเรียน  งานที่โรงเรียนจัดบริการ ใหนักเรียน งานเกี่ยวกับอาหารกลางวันและงานบริหารแนะแนว เปนตน งานธุรการ มีขอบขายงานเกี่ยวกับ งบประมาณการเงิน งานพัสดุ  งานสารบรรณ งานทะเบียน งานรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่  งาน อาคารสถานที่ มีขอบขายงานเกี่ยวกับการจัดอาคารสนถานที่  การใชอาคารสถานที่ การบำรุงรักษาอาคาร สถานที่ งานควบคุมดูแลอาคารสถานที่  และการประเมินผลการใชอาคารสถานที่ งานความสัมพันธ ระหวางโรงเรียนกับชุมชน มีขอบขายงานเกี่ยวกับการใหบริการแกชุมชนในดานตาง ๆ  การรับความ ชวยเหลือสนับสนุนจากชุมชน กรรมการศึกษา  การสรางความสัมพันธกับชุมชนและหนวยงานอื่น ๆ  การ จัดตั้งกลุมชมรมสมาคมหรือมูลนิธิ และการประชาสัมพันธ เปนตน
ขณะเดี่ยวกันผูบริหารโรงเรียนตองพัฒนาระบบงานของโรงเรียน  ใหมีประสิทธิภาพใน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ที่มุงเนนการพัฒนาคุณภาพของผูเรียน จำนวน  ๕ มาตรฐาน ๑๔ ตัว บงชี้ คือ
มาตรฐานที่ ๑ โรงเรียนใชแผนเปนเครื่องมือในการบริหารงานอยางมีประสิทธิภาพ
ตัวบงชี้ ๑ จัดระบบขอมูลสารสนเทศไดครบถวน ถูกตอง ตรงกับความตองการและทันตอ การใชงาน
ตัวบงชี้ ๒ แผนของโรงเรียนเกิดจากการมีสวนรวมของชุมชนใหสอดคลัองกับสภาพ โรงเรียน มีเปาหมายหมายชัดเจนและมุงเนนคุณภาพนักเรียน
ตัวบงชี้ ๓ จัดระบบงานชัดเจนคลองตัวในการปฏิบัติงานมอบหมายงานตรงความรู  ความสามารถ สงเสริมบุคลากรใหมีปฏิสัมพันธที่ดีตอกัน
ตัวบงชี้ ๔ ควบคุมกำกับ ติดตามและนิเทศใหการดำเนินงานบรรลุตามแผน
มาตรฐานที่ ๒ โรงเรียนสนับสนุนใหบุคลากรเกิดความมุงมั่นในการพัฒนางาน
ตัวบงชี้ ๑   สงเสริมพัฒนาบุคลากรใหสามารถพัฒนาตนเอง และพัฒนางานอยาง    ตอเนื่อง
ตัวบงชี้ ๒ จัดสวัสดิการสิ่งอำนวยความสะดวก และประโยชนตอบแทนในการปฏิบัติงาน ไดอยางเหมาะสมเปนธรรม
มาตรฐานที่ ๓ โรงเรียนจัดกิจกรรมหลากหลายเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน
ตัวบงชี้ ๑ จัดกิจกรรมทางวิชาการ บริการแนะแนว บริการสุขภาพอนามัย  โภชนาการ และกิจกรรมชวยเหลือนักเรียนอยางทั่วถึงและเหมาะสม
ตัวบงชี้ ๒ จัดกิจกรรมสงเสริมการเรียนรูดานศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษสิ่งแวดลอม
ตัวบงชี้ ๓ จัดแหลงความรูสื่อและเทคโนโลยีที่เอื้อตองานการเรียนการสอน
ตัวบงชี้ ๔ จัดสภาพแวดลอมภายในโรงเรียนใหมีบรรยากาศที่สงเสริมการเรียานรู
มาตรฐานที่ ๔ โรงเรียนประสานความรวมมือจากทุกฝายเพื่อพัฒนาโรงเรียน
ตัวบงชี้ ๑ ดำเนินการเพื่อประสานความรวมมือกับกรรมการโรงเรียนชุมชนและหนวยงาน อื่นในการพัฒนาโรงเรียน
ตัวบงชี้ ๒ จัดกิจกรรมประชาสัมพันธการดำเนินงานของโรงเรียนไดรวดเร็วทันเหตุการณ และตอเนื่อง
มาตรฐานที่ ๕ โรงเรียนประเมินผลการปฏิบัติงานอยางเปนระบบ
ตัวบงชี้ ๑ ประเมินการปฏิบัติงานอยางตอเนื่อง โดยใชวิธีหลากหลายและทุกฝายมี              วนรวม
ตัวบงชี้ ๒ นำผลการประเมินไปใชนิเทศและการพัฒนางานอยูเสมอ
หลักการและแนวคิดการบริหารองคกรเพื่อความเปนเลิศ
สภาพการในปจจุบันองคกรทางธุรกิจ  รัฐวิสาหกิจ และแมแตราชการก็ตาม มักจะไดรับ ผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดลอมตาง ๆ  ประกอบดวย เศรษฐกิจ สังคม และ การเมือง จึงมีผลใหองคกรตองตกอยูในสภาวะที่มีอุปสรรคในการดำเนินการเพื่อใหองคกรดำรงอยูได  ประกอบกับสภาวะของการแขงขันขององคกรตาง ๆ  จะเพิ่มทวีความรุนแรงขึ้นทั้งในรูปแบบของสินคาการ บริการ ดานคุณภาพ ความประหยัดในการดำเนินงาน  ซึ่งสภาวะดังกลาวทำใหเปนภาระตอการบริหาร องคการที่จะตองพยายามแสวงหาแนวทางการปรับองคการเพื่อใหกาวไปสู ความเปนเลิศโดยผูบริหาร จะตองตระหนักและใหความสำคัญตอการแสวงหายุทธวิธีการบริหารเพื่อมุงสูความเปนเลิศ  ซึ่งหลักการ แนวคิดการบริหารองคกรเพื่อความเปนเลิศจะมีหลากหลาย  ซึ่งผูบริหารสามารถศึกษาและหายุทธวิธีตามที่ ผูบริหารเห็นวามีความเหมาะสมกับองคกร  ในที่นี้จะเสนอประเด็นเพื่อเปนแนวทางในการบริหารองคกร เพื่อความเปนเลิศ ดังนี้
๑. กรอบแนวคิดการบริหารแบบมุงประสิทธิผลและประสิทธิภาพขององคกร
๒. กรอบแนวคิดการบริหารงานแบบมุงผลสัมฤทธิ์ และ
๓. กรอบแนวคิดตามคุณลักษณะ ๘  ประการของความเปนเลิศในการบริหาร
๑. กรอบแนวคิดการบริหารแบบมุงประสิทธิผลและประสิทธิภาพขององคกร
งานขององคกร คือ การผลิตสินคาหรือบริการใหกับลูกคา  หากจะตองมององคประกอบ ในแงของระบบ องคการเปนระบบบริหารที่ดำเนินงานเพื่อบรรลุเปาหมายที่กำหนดไว  ๓ ระบบใหญ คือ ทรัพยากรที่ใช (resource input) กระบวนการแปรรูป (transformation process) และผลผลิต (product output) ทรัพยากรที่ปอนเขาระบบที่สำคัญก็คือ คน  วัตถุดิบ เงิน เทคโนโลยี และ ขอมูล กระบวนการ แปรรูปไดแก งานของผูบริหาร  องคการที่จะเปลี่ยนสภาพจากวัตถุดิบไปเปนสินคาหรือบริการ  ลูกคาเปน ผูบริโภคผลผลิตขององคการพรอมทั้งสะทอนกลับ (feedback) ผลของการบริโภคสินคาและบริการกลับ ไปยังองคกร ประกอบดวย
ผลการปฏิบัติของผูบริหาร (Management Performance)
ตามที่กลาวมาแลว การวัดผลการปฏิบัติงานของผูบริหารนั้นใหดูผลการผลิต (Productivity) วาสูงหรือต่ำ คำวา ผลการผลิต หมายถึง การวัดผลรวมทางดานปริมาณและคุณภาพของงานที่ทำ เมื่อ เปรียบเทียบกับทรัพยากรที่ใช หมายความวา  จำนวนทรัพยากรระดับหนึ่ง ผูบริหารกอใหเกิดผลการผลิต ดวยปริมาณและคุณภาพเทาไร หากพิจารณาในแงของสมการก็จะไดดังนี้
Productivity = Quantify + Quality + Resource
กลาวอีกนัยหนึ่งวา ผลการผลิตที่สูงสุดคือไดงานปริมาณมากที่สุด  ไดคุณภาพดีที่สุด และ ใชทรัพยากรประหยัดที่สุด
การวัดผลรวมของผลการผลิต อาจทำไดหลาย ๆ รูปแบบแลวแตลักษณะงานที่ทำ เชน  อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนตอทรัพยสินลงทุน  รายไดจากคาเชาตอตารางเมตร อัตราการสูญเสียที่เกิด จากการใชวัตถุดับตอผลผลิต อัตราคนทำงานตอชั่วโมง เปนตน
ในอีกแงหนึ่งของการวัดผล คือ การเปรียบเทียบผลผลิตกับทรัพยากรที่ใชภายในระยะเวลา และคุณภาพที่กำหนด โดยเขียนไดดังนี้
Product output
Productivity =
(Within a time, Quality)
Resource input
การวัดผลการผลิตในความหมายนี้  ผูบริหารสามารถผลิตสินคาไดภายในเวลาที่กำหนด และไดคุณภาพมาตรฐานที่ตองการ  โดยไดผลผลิตจำนวนหนึ่งดวยทรัพยากรที่ใชจำนวนหนึ่ง  ดังนั้น การ เพิ่มผลการผลิตอาจกระทำได ๓ วิธี คือ เพิ่มผลผลิตโดยใชทรัพยากรเทาเดิม  ลดการใชทรัพยากรโดยได ผลผลิตที่เทาเดิม และการเพิ่มผลผลิตและลดการใชทรัพยากรลง
นอกจากนี้ การวัดผลการผลิต (productivity) ตามที่กลาวแลวอาจวัดไดจากประสิทธิผล (effectiveness) และประสิทธิผล (efficiency) ประสิทธิผล หมายถึง การทำงานใหบรรลุเปาหมายที่ ตองการในแงของผูบริโภคสินคาไดปริมาณและคุณภาพตรงกับความตองการของผูบริโภค  ประสิทธิภาพ หมายถึง ทำงานโดยเสียคาใชจายต่ำหรือประหยัดคาใชจายในแงของการผลิตสินคา  ประสิทธิภาพก็คือ  ผลิตสินคาไดปริมาณและคุณภาพที่กำหนดโดยเสียคาใชจายต่ำ
ความมีประสิทธิผลขององคการ (Organization Effectiveness)  เปนหัวขอที่สำคัญตอการ วิเคราะหและขัดเกลาพฤติกรรมองคการที่เกิดจากการบริหารงาน วามีประสิทธิภาพเพียงใด ความมี ประสิทธิผลขององคการจะมีขึ้นได ขึ้นอยูกับเงื่อนไขที่วาองคการสามารถทำประโยชนจากสภาพ          แวดลอมจนบรรลุเปาหมายที่ตั้งใจไว แตสิ่งที่สำคัญที่อยูเบื้องหลังควบคูกับประสิทธิผล  ก็คือความมี ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึง การมีสมรรถนะสูง สามารถมีระบบการทำงานสรางสมทรัพยากร และความมั่งคั่งเก็บไวภายใน ไวเพื่อการขยายตัวตอไปและเพื่อเอาไวสำหรับรับรองสถานการณที่อาจเกิด วิกฤตการณ็จากภายนอกดวยดวย
ธงชัย สันติวงษ ไดกลาววา นักวิชาการหลายทานไดชี้ใหเห็นถึงความแตกตางระหวางคำ วา ประสิทธิผลขององคการ (Organization Effectiveness) และประสิทธิภาพขององคการ (Organization Effectiveness) ไวดังนี้ (ธงชัย สันติวงษ. ๒๕๔๑ : ๒๕๓๓)
ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ความสำเร็จในการที่สามารถดำเนินกิจการ          กาวหนาไปและสามารถบรรลุเปาหมายตาง ๆ ที่องคการตั้งไวได
ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง การเปรียบเทียบทรัพยากรที่ใชไปกับผลที่ไดจากการ ทำงานวาดีขึ้นอยางไร แคไหน ในขณะที่กำลังทำงานตามเปาหมายขององคการ
ดังนั้น ผูบริหารที่ทำงานไดผลการผลิตสูง (high productivity) คือ ทำงานไดบรรลุผลตาม ตองการและเสียคาใชจายต่ำ แตการจะใหเกิดความสมดุลทั้งประสิทธิผลและประสิทธิภาพจึงเปนเรื่องยาก บางทีอาจไดอยางเสียอยาง คือ  ทำงานไดตามเปาหมายแตเสียคาใชจายสูง (effectiveness no efficiency) หรือ เสียคาใชจายต่ำแตผลงานไมบรรลุตามเปาหมาย (efficiency no effectiveness) และที่ผลการผลิตต่ำสุดก็คือ งานไมบรรลุตามเปาหมายและเสียคาใชจายสูง (neither effectiveness no efficiency) ในแงการวัดผลการ ปฏิบัติงานของผูบริหารจะตองพิจารณาสวนประกอบที่สำคัญ  ๒ สวน คือ ทรัพยากรขององคการและลูกคา  องคการที่ไดชื่อวา บริหารงานดีจะตองใชทรัพยากรอยางถูกตอง เหมาะสมและตรงกับความตองการของ ลูกคา การใชทรัพยากรอยางถูกตองเหมาะสมจะตองใชในลักษณะการสรางมูลคาเพิ่ม (value – added) ใหกับทรัพยากรที่ใช นั่นคือ ทุกขั้นตอนของการผลิตหรือการทำงานของผูบริหารจะตองเพิ่มมูลคาใหกับ สินคาหรือบริการขององคการ
สำหรับการบริหารการศึกษานั้น ผูบริหารการศึกษาและผูบริหารสถานศึกษา  จึงตองให ความสำคัญของประสิทธิผล และปริสทธิภาพ  รวมถึงตองตระหนักถึงปริมาณและคุณภาพที่เกิดขึ้นในตัว นักเรียนแ ละนักศึกษา ดวย
๒. กรอบแนวคิดของการบริหารงานแบบมุงผลสัมฤทธิ์
การปฏิรูประบบราชการเปนนโยบายหนึ่งที่รัฐบาลไทยใหความสำคัญ  เนื่องจากการปฏิรูป ราชการกำลังเปนเรื่องที่รัฐบาลประเทศตาง ๆ  ใหความสนใจเพราะวาการรับขาวสารของประชาชนไดรับ การยกระดับใหสูงขึ้น ดังนี้ การบริการของรัฐที่ยังไมตอบสนองความตองการของประชาชนอยางทัน เหตุการณ งานลาชา ซ้ำซอน ไมมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการใหบริการของภาคธุรกิจ เอกชน การมีกฎระเบียบรุงรัง ไมยัดหยุน  ระบบการทำงานไมโปรงใสและไมสามารถแกปญหาทางเศรษฐกิจและ สังคมตอการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในยุคโลกรภิวัฒน  จึงจำเปนตองไดรับการเปลี่ยนแปลงและไดรับการ ปฏิรูป เทคนิคหนึ่งที่หลายประเทศไดนำมาใชเปนสวนหนึ่งของการปฏิรูปราชการ คือ การบริหารที่เนนผล (Result – Oriented Management หรือ Results Based Management) หรือเรียกอีกอยางวาการบริหารแบบ มุงผลสัมฤทธิ์
การบริหารแบบมุงผลสัมฤทธิ์ เปนรูปแบบการบริหารที่เนนความรับผิดชอบ (Accountability) ของรัฐบาลตอประชาชน กลาวคือ  รัฐบาลจะตองแสดงใหเปนที่ประจักษแกประชาชน          วารัฐไดใชงบประมาณแผนดินไปอยางมีประสิทธิภาพและไดผลอยางไร โดยการแสดงถึงผลได มีผลงาน อะไรบาง
การบริหารแบบมุงผลสัมฤทธิ์  เปนการจัดหาใหไดทรัพยากรการบริหารมาอยางประหยัด (Economy) การบริหารทรัพยากรอยางมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และการไดผลงานที่บรรลุเปาหมายของ องคการ หรือประสิทธิผลการทำงาน (effectiveness)
๓. กรอบแนวคิดตามคุณลักษณะ  ๘ ประการของความเปนเลิศในการบริหาร
สำหรับคุณลักษณะความเปนเลิศในเชิงการบริหารที่คนพบจากการวิจัยที่บริษัทอเมริกัน ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานอยางสูง ๘ ประการ ประกอบดวย
๒.๑ มุงเนนการปฏิบัต (a bias for action)
๒.๒ มีความใกลชิดกับลูกคา (close to the customer)
๒.๓ มีความอิสระในการทำงานและมีความรูสึกเปนเจาของกิจการ (autonomy and entrepreneurship)
๒.๔ เพิ่มผลผลิตโดยอาศัยพนักงาน (productivity through people)
๒.๕ สัมพฟสกับงานอยางใกลชิด  และความเชื่อมั่นในคุณคาเปนแรงผลักดัน (hands-on and value driven)
๒.๖ ทำธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญและเกี่ยวเนื่อง (stick to the knitting)
๒.๗ รูปแบบเรียบงายธรรมดา พนักงานอำนวยการมีจำกัด (simple form and lean staff)
๒.๘ เขมงวดและผอนปรนในเวลาเดียวกัน (simultaneous loose-tight properties)
สรุป การบริหารโรงเรียนไปสูความเปนเลิศ  เปนเรื่องสำคัญที่ผูบริหารโรงเรียนจะตอง ตระหนักและใหความสำคัญตอการจัดระบบการบริหารทั้ง  ๖ ดาน คือ งานดานวิชาการ  งานบุคลากร งาน กิจกรรมนักเรียน งานธุรการ งานอาคารสถานที่  และงานความสัมพันธระหวางโรงเรียนกับชุมชน  ใหมี
ประสิทธิภาพและตองมีการประเมินผลการปฏิบัติงานอยางเปนระบบ  โดยเฉพาะการพิจารณาจาก
กระบวนการบริหารงานใหเปนไปตามมาตรฐานโรงเรียน  ๕ มาตรฐาน คือ
๑. โรงเรียนใชแผนเปนเครื่องมือในการบริหารงานอยางมีประสิทธิภาพ
๒. โรงเรียนสนับสนุนใหบุคลากรเกิดความมุงมั่นในการพัฒนางาน
๓. โรงเรียนจัดกิจกรรมหลากหลายเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน
๔. โรงเรียนประสานความรวมมือจากทุกฝายเพื่อพัฒนาโรงเรียน
๕. โรงเรียนประเมินผลการปฏิบัติงานอยางเปนระบบ
เรียบเรียงโดย นางเพชรฤทัย  อกนิษฐ์

บทความเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

บทความทางวิชาการ
ผู้บริหารสถานศึกษาที่สมบูรณ์แบบเป็นอย่างไร ?
ว่าที่ ร.ต.ดนุวัศ ไชยสงค์
นักศึกษาปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา
ถ้าพูดถึงเรื่องการบริหารไม่ว่าจะเป็นการบริหารในสาขาใดก็ตาม ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาย่อมมีความคาดหวังสูงในตัวของผู้บริหารในเรื่องของการบริหารจัดการทุกเรื่อง จะต้องดีและมีประสิทธิภาพการบริหารการศึกษาเป็นเรื่องที่ท้าทาย ไม่เหมือนกับการบริหารธุรกิจทั่วไปที่มุ่งเน้นผลกำไรเป็นตัวเงิน แต่การบริหารการศึกษาผลสำเร็จที่วัดออกมาไม่ใช่ตัวเงิน นี่คือความท้าทายของการบริหารการศึกษา
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะทำอย่างไรที่จะมีผู้บริหารสถานศึกษาที่เพียบพร้อมทุกอย่างทางด้านการบริหาร หรือที่เรียกว่า ผู้บริหารสถานศึกษาที่สมบูรณ์แบบและจะมีคำพูดอีกคำหนึ่งที่มาหักล้างกันคือ ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่สมบูรณ์แบบแล้วจะทำอย่างไรล่ะที่จะทำให้มันเป็นจริงได้ ผู้เขียนจึงขอเสนอคุณสมบัติผู้ที่จะมาเป็นผู้บริหารสถานศึกษาที่มีคุณภาพ และการเป็นผู้บริหารสถานศึกษาที่เก่งรอบด้าน ดังนี้
1. คุณสมบัติของการเป็นผู้บริหาร และผู้นำที่ดี
1. การเป็นผู้รู้จักตนเอง (Self realization)
- รู้ถึงความต้องการแห่งตน
- รู้ถึงวิธีการสร้างเป้าหมายแห่งตน ไม่ว่าในชีวิตส่วนตัว หรืองาน
- รู้ถึงขีดความสามารถแห่งตน ที่จะกระทำการใดๆ ได้เพียงใด
- รู้ถึงวิธีการควบคุมตนเอง การมีวินัยในการใช้ชีวิต และการทำงาน
- รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อตน และการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้น
- รู้ว่าตนจะต้องลงทุนอะไร เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งต้องการ
- รู้สึกได้ถึงความสุข ความทุกข์ ที่สัมผัสได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีผู้ไดมาชี้นำ
- ยอมรับความจริงได้ทุกอย่าง ไม่หลอกตัวเอง
2.การเป็นผู้รู้จักการวิเคราะห์หาเหตุและผล (Analytical Mind)
- มองทุกสิ่งที่ปรากฏต่อหน้า(Appearance)อย่างลึกซึ้ง คิดถึงที่ไป ที่มา ไม่ใช่แค่ที่เห็น
- มองทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลึกถึงเหตุปัจจัย (Cause) และสามารถคาดคะเนผลที่เกิดตามมา (Consequence) ในปัจจุบัน และในอนาคตได้
- เป็นผู้ที่ตั้งคำถามตลอดเวลา "ใคร(Who)? ทำอะไร(What)? ที่ไหน(Where)? เมื่อไร(When)?
ทำไม(Why) อย่างไร(HOW)? ” (5-W 1H)

- เข้าใจถึง หลักการ "อริยสัจของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดี
- เป็นผู้ที่ช่างสังเกต ให้ความสนใจในรายละเอียดเพื่อเก็บมาเป็นข้อมูล
- มองพฤติกรรมบุคคล (Person) เหตุการณ์ (Event) สามารถโยงถึง หลักการ (Principle) ได้ และ ใช้หลักการ (Principle) สร้างวิธีการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา และป้องกันปัญหา เพื่อให้เกิดเหตุการณ์ (Event) ที่ต้องการ และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล (Person) ให้อยู่ภายไต้การควบคุมได้
3. การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดกาล (Life Long Learning)
- มีความรู้สึกว่าตนไม่รู้อะไรอีกมาก และตระหนักถึงความเป็นผู้ใฝ่รู้ตลอดเวลา
- เข้าใจดีกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้สิ่งที่เคยรู้เมื่อวันวานอาจไม่ใช่ในวันนี้อีกต่อไป
- มองเห็น สิ่งของ ผู้คน เหตุการณ์ เป็นสื่อสอนตนได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งดี หรือสิ่งเลว และสามารถเลือกเก็บมาจดจำ และหยิบออกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
- ใฝ่ค้นหา ติดตาม ความรู้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับวิชาชีพ และการดำรงชีวิต
- มุ่งเรียนรู้อย่างลึกซึ้งและจริงจังให้เป็นผู้รู้และเข้าใจในแต่ละเรื่องอย่างแท้จริง
- สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ถูกเวลา และเหมาะสม
- การเรียนรู้มี 2 อย่าง เรียนรู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้และเรียนรู้สิ่งที่เรารู้ให้รู้มากขึ้น
- นักปราชญ์บอกไว้ว่า ความรู้ที่แท้จริง คือการ "รู้ว่าเรารู้อะไรและ "รู้ว่าเราไม่รู้อะไรเพราะมันเป็นจุดเริ่มต้น ให้ค้นหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ
- กระบวนการเรียนรู้ของบุคคล เริ่มจาก ความปรารถนาของตน (Personal Vision) ถูกตั้งไว้ และกำหนดเป็นเป้าหมายในขั้นตอนของชีวิต เรียนรู้รูปแบบ ความคิดแห่งตนและผู้อื่น (Mental Model) อย่างเข้าใจ
- ให้ความสำคัญกับ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน (Shared vision) อย่างเปิดใจกว้าง และรับฟัง
- ร่วมแรงร่วมใจทำงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จร่วมกัน (Team Learning)
รู้จักการคิดเชิงระบบ (System thinking) มีทักษะการวิเคราะห์ มองเหตุผล และมองเห็น คาดการณ์ ผลลัพธ์ในอนาคตได้ และสามารถสังเคราะห์กระบวนการที่สามารถนำไป สู่ความสำเร็จที่ต้องการ ได้

ความรู้ดังกล่าวของบุคคลในกลุ่มที่อยู่ร่วมกัน สามารถ นำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) ได้ในที่สุด อันเป็น สิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมโลกยุคใหม่ (New Society) ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง รวดเร็ว และไม่สิ้นสุด
4. ความเข้าใจในจิตวิทยาการบริหาร ในการบริหารงาน คงจะไม่ผิดนักหากจะพูดว่าพูด "คือการบริหารคนนั่นเอง เพราะ คน เป็นผู้กำหนด วิธีการหรือระบบ (System) การได้มาและการบริหารการใช้ไปของทรัพยากร(Resource Management) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และผลสำเร็จของงาน การที่จะบริการคนซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ มีอารมณ์ และการแสดงออกที่ซับซ้อน ไม่ตรงไปตรงมา และมักมี "เป้าหมายซ่อนเร้นแห่งตน (Hidden Agenda)" อยู่ภายในเสมอ ทำให้การบริหารยาก และไม่อาจ กำหนดผลลัพธ์ อย่างตรงไปตรงมา ได้ ผู้นำที่เข้าใจจิตใจ ของมนุษย์ หากสามารถวิเคราะห์ผลกระทบของเหตุการณ์ต่อจิตใจของคนได้ ก็จะสามารถคาดเดา พฤติกรรม แสดงออกของคนคนนั้นได้ไม่อยาก และสามารถที่จะสร้างสถานการณ์รองรับไว้ล่วงหน้าเพื่อป้องกัน ผลเสียหายจากปฏิกิริยาตอบโต้ของคนได้
5. การเป็นคนดี "Good Person” คนเก่ง และคนดีเป็นของคู่กัน แต่บางครั้งไม่ไปด้วยกัน "คนเก่งสร้างได้ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งแก่เฒ่า โดยการเรียนรู้ทุ่มเท แต่ "คนดี" สร้างได้ยากกว่านักจนบางครั้งก็สร้างไม่ได้เลย คนเรามีการพัฒนา Super ego ซึ่งได้แก่ มโนธรรม และอุดมคติแห่งตนในช่วงวัยเด็ก 5-10 ขวบ จากนั้นสิ่งที่ได้รับ มาจะกลายเป็น โครงสร้างพฤติกรรม ของคนๆ นั้น(Frame of Reference)เขาจะใช้มัน ปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ที่สัมผัสโดยใช้ กระบวนการ ที่ซับซ้อนมากขึ้น การเป็นคนดีจะต้องมี การพัฒนาส่วนของ Super ego ของคนๆนั้น มาแล้ว เป็นอย่างดีโดย พ่อแม่ครูอาจารย์ ในช่วงปฐมวัย เมื่อเติบใหญ่ จะเป็นคนที่สามารถ ปรับสมดุล ในตนเองให้ได้ระหว่าง "กิเลสจาก จิตเบื้องต่ำขับเคลื่อน ด้วย สัญชาติญาณแห่ง ความต้องการ ที่รุนแรงที่ไม่ต้องการเงื่อนไขและข้อจำกัดไดๆ กับ "มโนธรรมที่ขับเคลื่อนด้วย ความปารถนา

สรุป

ผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหาร จัดการ มีวิสัยทัศน์ในการบริหารการศึกษาให้ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลง มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์เป็นที่ยอมรับ ของผู้เกี่ยวข้อง และมีความเป็นประชาธิปไตย เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้ ความสามารถ บุคลิกลักษณะ และคุณสมบัติตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างแท้จริง ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ควรมีลักษณะที่สำคัญ คือ นักพัฒนา นักแก้ปัญหา นักตัดสินใจ นักประนีประนอม นักการฑูต นักวางแผน นักปกครอง และนักปราชญ์
เรียบเรียงโดย  นางเพชรฤทัย  อกนิษฐ์

บทความเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

บทความทางวิชาการ

สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
การจัดการสารสนเทศ เป็นลักษณะที่พบเห็นทั่วไปในแวดวงที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศและจัดการด้านต่าง ๆ โดยเป็นที่ยอมรับกันว่าการจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์กรและหน่วยงาน โดยเฉพาะสารสนเทศที่ได้มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของบันทึก จดหมายโต้ตอบ รายงาน เทปบันทึกการประชุม วีดีทัศน์ประกอบการนำเสนอ ฐานข้อมูลบุคลากร ฐานข้อมูลบัญชี แบบฟอร์มการลา ฯลฯ โดยสารสนเทศเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรเป็นอย่างยิ่ง
ระบบสารสนเทศในองค์กรหรือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในยุคโลกาภิวัตน์ที่เกิดกระแสความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมอย่างรวดเร็ว ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ ต่างเล็งเห็นถึงความจำเป็นของระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2549 : 25)ในส่วนของสถานศึกษา การมีสารสนเทศที่เป็นระบบ ก็มีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความสำคัญของการจัดการสารสนเทศอย่างมีระบบ ทำให้สามารถมีข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านต่าง ๆ ผู้บริหารจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ว่าต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับจัดการและระดับกลยุทธ์ เพราะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและโปร่งใส
สถานศึกษาที่มีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์ ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน เรียกใช้ได้สะดวกและตรงตามความต้องการ จะช่วยให้สถานศึกษาสามารถดำเนินงานพัฒนาคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลักวิชา หลักฐานข้อเท็จจริงที่สามารถตรวจสอบได้ มีกระบวนการวิเคราะห์และประมวลผลที่เป็นวิทยาศาสตร์ หลักตรรกและความสมเหตุสมผล เพราะสารสนเทศทั้งหลายนั้นนอกจากจะใช้ในการวางแผนการดำเนินงานและประกอบการตัดสินใจแล้ว ยังนำไปสู่การพัฒนาแนวความคิด และสร้างทางเลือกใหม่ๆ ในการดำเนินการต่างๆ โดยระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ที่ประกอบด้วย (1) ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา (2) ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน (3) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ (4) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ โดยระบบสารสนเทศแต่ละระบบเหล่านี้มีรายละเอียดโดยสังเขปดังต่อไปนี้
1.
ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมของสถานศึกษา สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความต้องการของ ชุมชน สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้างและภารกิจ เป็นต้น โดยมีตัวอย่างรายงานในระบบสารสนเทศ เช่น ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา
ศักยภาพของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น แนวทางการจัดการศึกษา และการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา/คณะกรรมการนักเรียน เป็นต้น
2.
ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด โดยมีตัวอย่างรายงานของระบบสารสนเทศ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ผลงานและการแสดงออกของผู้เรียน รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นต้น
3.
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารวิชาการ เป็นการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน การวัดและการประเมิน ผลการพัฒนากิจกรรมแนะแนวและการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีตัวอย่างรายงานของระบบสารสนเทศ เช่น หลักสูตรและการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผลการเรียน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/กิจกรรมแนะแนว การวิจัยในชั้นเรียน เป็นต้น
4.
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ เป็นระบบสารสนเทศที่ต้องมีการประมวลผลรวม มีการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างถูกต้องและทันสมัยจึงมีความหมายต่อการจัดการและการบริหารงานอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ โดยมีตัวอย่างรายงานของระบบสารสนเทศ เช่น สภาพการบริหารและการจัดการ ความสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ ภารกิจและเป้าหมายการพัฒนา สภาพและบรรยากาศการเรียนรู้ ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก การพัฒนาวิชาชีพ ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน เป็นต้น


ที่มา http://yoottana.blogspot.com/2009/01/blog-post.html
เรียบเรียงโดย นางเพชรฤทัย  อกนิษฐ์

บทความเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

บทความผู้บริหารสถานศึกษา กับการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ... สำคัญจริงหรือ
ศิริพงษ์ บุญมีลาภ
แรงจูงใจมีความสำคัญต่อผู้บริหารจริงหรือ
สถานศึกษาที่จะพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศได้นั้นต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบแห่งความสำเร็จ 3 ประการคือ 1) ประสิทธิภาพ (Efficiency) 2) ประสิทธิผล(Effectiveness) และ 3) ความพึงพอใจ (Satisfaction)ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ผู้ที่จะมีส่วนผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้นั้นก็คือบุคลากรในหน่วยงานนั้นๆนั่นเองโดยมีผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้กำกับ ติดตาม ดังนั้นบทบาทหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษา คือ การทำอย่างไรให้ข้าราชการครูบุคคลากรทางการศึกษา และบุคคลที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ทำงานให้บรรลุเป้าประสงค์ สำเร็จได้ ประการสำคัญที่ผู้บริหารจะละเลยเสียไม่ได้ก็คือคือ จะต้องรู้จักวิธีการสร้างแรงจูงใจให้กับราชการครู ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ร่วมจัดการศึกษา ในการพัฒนาจัดการศึกษาของโรงเรียน ข้าราชการครู ถือว่ามีความสำคัญมาก ครูต้องจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ให้กับลูกศิษย์ เติบโตและพัฒนาเป็นสมาชิกของชุมชน สังคมที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมอันพึ่งประสงค์และ สามารถดำเนินชีวิตอยู่สังคมได้อย่างมีความสุข อย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน จากบทความนี้จะช่วยทำให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาสามารถสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับข้าราชการครูและบุคคลกรการศึกษา รวมไปถึงผู้ร่วมพัฒนาการศึกษา ทำงานเชิงคุณภาพได้ประสิทธิภาพ ภายในโรเรียน และนำมาใช้เมื่อต้องการแก้ปัญหา ปรับปรุงพัฒนาแรงจูงใจในโรงเรียน ใช้ในการเสริมสร้างทีมงานของผู้อำนวยการ เพื่อปฏิรูปโครงสร้างโรงเรียนต่อไป
อะไรบ้างที่ผู้บริหารควรรู้เกี่ยวกับทฤษฎีแรงจูงใจ
มูลเหตุจูงใจในการทำงานของทฤษฎีแรงจูงใจ จะทำให้ผู้บริหารได้เข้าใจความต้องการของผู้ร่วมงาน สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความสำเร็จของงาน
ทฤษฎีมนุษย์นิยม ทฤษฎีคลาสสิคแนวใหม่ มองว่า คนเป็นมนุษย์เศรษฐศาสตร์ (
Economic man) ทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์ มองว่า คนเป็นมนุษย์สังคม (Social man)
ผลงานของ E. Mayo และคณะที่สำคัญคือ องค์การเป็นระบบทางสังคม การเป็นผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา เกิดจากค่านิยมของสมาชิกในกลุ่ม และค่านิยม ความเชื่อ รวมถึงอารมณ์ของสมาชิกด้วย
นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
C.I Barnard มองว่า เป็นระบบของการร่วมแรงร่วมใจของบุคคล เพื่อทำงานให้สำเร็จ
ทฤษฎีแรงจูงใจที่กล่าวถึงเนื้อหา (
Content Theories of Motivation)
ทฤษฎีมนุษยวิทยา(ทรัพยากรมนุษย์)จะมองว่า เป็น มนุษย์ที่ประสงค์จะทำงานให้สำเร็จด้วยตนเองผลงานของ Marlow ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์เป็น 5 ลำดับขั้นคือ
ขั้นที่ 1. ความต้องทางด้านร่างกาย (
Physiological)
ขั้นที่ 2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety)
ขั้นที่ 3. ความต้องการทางสังคม (Social)
ขั้นที่ 4. ความต้องการมีชื่อเสียง (Esteem)
ขั้นที่ 5. ความต้องการความสำเร็จตามความนึกคิด (Self-actualization)
ผลงานทฤษฎีแรงจูงใจของ อัลเดอร์เฟอร์ (Clayton Alderfer) เป็นที่รู้จักในนามของ “E.R.G Theory” ก็อยู่ในกลุ่มทฤษฎีแรงจูงใจที่กล่าวถึงเนื้อหา เช่นกัน
ทฤษฎีแรงจูงใจเกี่ยวกับกระบวนการ ได้แก่ ผลงานของ Victor Vroom ในนามทฤษฎี ความคาดหวัง (Expectancy Theory) และAdams J. Stacy คิดว่า การจูงใจจะเกิดขึ้น เมื่อบุคคลในองค์การได้รับรู้ถึงระดับความเสมอภาค เป็นทฤษฎีความเสมอภาค
จากผลงานของบุคคลสำคัญ ตามทฤษฎีที่กล่าวข้างต้นนี้ ผู้บริหารจำเป็นต้องมีความรู้เพื่อเป็นพื้นฐานในการนำไปปรับประยุกต์ใช้ในบริบทของสถานศึกษาของตน
การนำแรงจูงใจมาประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ปัญหา และส่งเสริม พัฒนาการบริหารการศึกษาของโรงเรียน
ตามที่ รศ. สุขุม นวลสกุล ได้แนะนำวิธีสร้างแรงจูงใจในที่ทำงานนั้น โรงเรียนมีระบบการพิจารณาความดี ความชอบ เป็นที่ยอมรับและเข้าใจชัดเจน เป็นขวัญกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติงาน กล่าวคือ ความสุขที่เกิดจากการได้ทำในสิ่งที่ดีกว่า และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม เป็นที่ชื่นชมในองค์การ นับเป็นการบริหารด้านค่าตอบแทน และสวัสดิการ คือ ความต้องการทางกาย และความมั่นคงในชีวิต

แนวความคิดในการปฏิบัติ สามารถลำดับขั้นตอนการนำไปประยุกต์ใช้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. มุมมองของผู้บริหาร มองเห็นผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นผู้ทรงคุณค่าด้านคุณธรรม จริยธรรม มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ผู้ได้รับแรงจูงใจที่ดี จะส่งผลต่อการปฏิบัติงาน และมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีขึ้น
2. ผู้บริหารมีความเป็นปัญญาชน ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งกาย วาจา ใจ ด้วยความจริงใจกับทุกคน เป็นที่ยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
3. การบริหารด้านความสัมพันธ์ในโรงเรียน ทำให้บุคลากรทุกคนมีคุณค่า เมื่ออยู่ในโรงเรียน และอยู่ร่วมกับผู้อื่น ที่ร่วมอาชีพเดียวกันได้ดี
4. การพัฒนาครู เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงโดยใช้ทฤษฎีความคาดหวังของ Vroom ความ
เจริญก้าวหน้าของ Hertzberg และการทำงานให้สำเร็จด้วนตนเองของ Argyris
5.ความภาคภูมิใจของโรงเรียน สร้างความรักโรงเรียน ภูมิใจ จงรักภักดีต่อสถานบัน สร้างจุดเด่นให้โรงเรียน ตามหลักทฤษฎีของ
Barnard กระตุ้นให้บุคลากร พัฒนา อาคารสถานที่ให้ดูสวยงาม เน้นการดูแล และเอาใจใส่นักเรียน ให้มีระเบียบวินัย
สรุปได้ว่าการสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับข้าราชครูและบุคลากรการศึกษา ผู้เข้าร่วมพัฒนาการจัดการศึกษา มีความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารการศึกษา การทำให้เกิดความเข้าใจ ความสามารถ นำไปประยุกต์ใช้ ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาการบริหารโรงเรียน และที่สำคัญ ผู้บริหารจะได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บิหารมืออาชีพอย่างแท้จริง
เรียบเรียงโดย นางเพชรฤทัย  อกนิษฐ์

บทความเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

บทความทางวิชาการ

การบริหารสถานศึกษาด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน

รองศาสตราจารย์หวน  พินธุพันธ์
 ( Learning Institutes Administration for Community Relations )
ความหมาย
การบริหารสถานศึกษาด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน หมายถึงการดำเนินงานของกลุ่มบุคคลในสถานศึกษาในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน เช่น ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถานที่ราชการ องค์กรเอกชน และสถาบันสังคมอื่นๆ เป็นต้น
ความสำคัญ
                การบริหารสถานศึกษาด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน เป็นงานบริหารการศึกษา 1 ใน 5 งาน ซึ่งจะช่วยพัฒนาคนให้มีคุณภาพหรือเป็นคนเก่งคนดีได้ เช่น การสอนให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ที่บ้านหรือนำไปใช้ในชุมชน ไม่ใช่สอนให้ท่องจำ ไม่ใช่สอนให้นำความรู้ไปสอบสอบแล้วก็ลืมหมด  หรือการสอนให้นักเรียนนำความรู้ไปช่วยแก้ปัญหาในชุมชนได้  หรือการเชิญปูชนียบุคคลในชุมชนมาให้ความรู้แก่ผู้เรียน ย่อมจะทำให้ผู้เรียนมีความรู้กว้างขวางขึ้น  ยิ่งไปกว่านั้นการบริหารงานด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน จะต้องดำเนินงานไปพร้อมๆกับการบริหารงานอีก 5 ด้าน คืองานวิชาการ งานธุรการ งานบุคคล และงานกิจการนักเรียน และบริหารงานทั้ง 5 ด้านนี้เท่าเทียมกัน จึงจะช่วยพัฒนาคนให้มีคุณภาพคือเป็นทั้งคนเก่งและคนดีได้
การบริหารสถานศึกษาด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
                การดำเนินงานในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน จะดำเนินงานได้หลากหลายดังนี้
1.       การสอนให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในครอบครัวและชุมชน เช่น การละเว้นจากยาเสพติด
การลดละเลิกอบายมุข การลดละเลิกใช้ยาฆ่าแมลง การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า การปลูกผักปลอดสารพิษ การปลูกป่ารักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เนื้อหาวิชาเหล่านี้เมื่อผู้เรียนเรียนในสถานศึกษาแล้ว ผู้สอนจะย้ำให้ผู้เรียนนำไปใช้ในครอบครัวและชุมชน และติดต่อประสานงานกับผู้ปกครองให้อบรมดูแลว่าผู้เรียนว่านำความรู้ไปใช้หรือไม่อย่างไรอีกด้วย
2.       สถานศึกษาขอความร่วมมือจากชุมชน ซึ่งจะขอความร่วมมือจากชุมชนในด้านต่างๆ
3.สถานศึกษาให้ความช่วยเหลือหรือบริการชุมชน
                4. บริการเกี่ยวกับอาคารสถานที่ของสถานศึกษาแก่ประชาชนในชุมชน เช่นให้ประชาชนในชุมชนใช้หอประชุม ใช้ห้องสมุด ใช้ห้องพยาบาล ใช้โรงอาหาร และใช้สนามกีฬา เป็นต้น
5.       การออกเยี่ยมเยียนผู้ปกครอง และผู้เรียนตามบ้าน เช่น เมื่อผู้เรียนเจ็บป่วย หรือผู้สอน
ไปแนะนำผู้เรียนทำแปลงเกษตรที่บ้าน รวมทั้งการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน เช่น ร่วมงานการทอดกฐินที่วัด ร่วมงานมงคลในชุมชน เป็นต้น
6.       การประชาสัมพันธ์สถานศึกษา เช่นจัดให้มีสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสารของสถาน
ศึกษา อาจทำในรูปของจดหมายข่าว วารสาร  จัดให้มีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อสอบถามหรือให้ความสะดวกแก่ผู้มาติดต่อสถานศึกษา
7.       การเชิญผู้ปกครองและประชาชนในชุมชนมาประชุม เช่นในวันปฐมนิเทศนักเรียนใหม่
วันเปิดเรียนในภาคเรียนแรกของปีการศึกษา เป็นต้น
8.       การรายงานผลการเรียนและอื่นๆให้ผู้ปกครองทราบ เช่น การรายงานเป็นประจำวัน
หรือการทำสมุดพกประจำตัวนักเรียน ซึ่งจะมีทั้งผลการเรียน ความประพฤติ สุขภาพ และอื่นๆ
การใช้ทรัพยากรท้องถิ่นในงานวิชาการ
แนวคิดในการแก้ปัญหา
การบริหารการศึกษา เป็นการดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ  แต่การที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพได้นั้น  จึงควรดำเนินงานการบริหารการศึกษาทั้ง 5 ด้านให้เท่าเทียมกันจึงจะแก้ปัญหาที่กล่าวมาแล้วได้  ขอยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเช่น  การบริหารงานวิชาการเป็นการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอน  ซึ่งมีส่วนในการพัฒนาคนให้มีความรู้ ความสามารถ มีความคิดและเป็นคนดี หรือพัฒนาคนให้เป็นคนที่มีคุณภาพได้นั้น  จะต้องมีการบริหารงานอีก 4 ด้านมาช่วยด้วย  เช่น การบริหารงานธุรการ คือจัดหาพัสดุครุภัณฑ์  จัดอาคารสถานที่ และอื่น ๆ เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนคล่องตัวขึ้น  การบริหารงานบุคคล ก็ต้องสรรหาครูที่มีคุณภาพมาสอน  ต้องพัฒนาครูให้มีคุณภาพยิ่งๆขึ้นไป  เพราะครูต้องมีคุณภาพ จึงจะพัฒนาคนให้มีคุณภาพได้  ส่วนการบริหารกิจการนักเรียน  ก็คือการปกครองนักเรียนให้เป็นคนดีมีวินัย มีการจัดกิจกรรมเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถและเป็นคนดียิ่งขึ้น  สำหรับการบริหารงานด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ก็มีส่วนช่วยพัฒนาคนเช่นกัน  เช่น การสอนให้นักเรียนนำความรู้ไปใช้ที่บ้านและชุมชน การให้นักเรียนฝึกวิชาชีพในชุมชน การช่วยแก้ปัญหาในชุมชน การเชิญบุคลากรในชุมชนมาให้ความรู้แก่นักเรียน การประสานงานกับผู้ปกครองให้สนใจการศึกษาของนักเรียนและช่วยอบรมนักเรียนที่บ้าน เป็นต้น  ดังนั้นการบริหารงานทั้ง 5 ด้านต้องสัมพันธ์กัน ต้องดำเนินการไปพร้อมๆกันและเท่าเทียมกัน  การพัฒนาคนจึงจะมีคุณภาพ ในที่สุดก็จะช่วยแก้ปัญหาการบริหารสถานศึกษาด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนได้
ที่มาจาก http://facstaff.swu.ac.th
เรียบเรียงโดย นางเพชรฤทัย  อกนิษฐ์