วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทความเกี่ยวกับการบริหารสถานสู่ความเป็นเลิศ

 บทความแนวคิดและยุทธศาสตร์ การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ
ผู้บริหารนับว่ามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อไปสู่เป้าหมายแห่ง                        
ความสำเร็จ  ผู้บริหารจะต้องมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง   สถานศึกษาและบุคลากรใน
โรงเรียนโดยตั้งเป้าหมายในการทำงานไว้สูง (High Expectation) และพยายามใช้ความรู้ 
ความสามารถ   ยุทธศาสตร์  เทคนิคหรือกระบวนการบริหารจัดการจูงใจโน้มน้าวให้บุคลากร
ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจปฏิบัติงานเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้โดยคำนึงถึงคุณภาพนักเรียนเป็น
สำคัญ  เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
 บรรลุจุดหมายของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ   พ.ศ.2542
 ผู้เขียนจึงได้ใช้หลักการ  แนวคิดและยุทธศาสตร์ในการบริหารโรงเรียนดังนี้
                     1   การบริหารงานแบบ  TIPCo  
                    2  ยุทธศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ
การบริหารงานแบบ  TIPCo  เป็นการบริหารงานในรูปขององค์คณะบุคคล  โดยบูรณาการนโยบายต้นสังกัด ภารกิจ  กิจกรรม  ความรับผิดชอบ  ทรัพยากร  บุคลากรและเทคโนโลยีนำมาหลอมรวมเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานของโรงเรียน  เน้นการทำงานเป็นทีมและเน้นการเข้าใจ  ยอมรับและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียน (Stakeholder)  ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน  โดยมีหลักในการทำงานร่วมกันว่า ร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมกันแก้ปัญหาและร่วมกันภาคภูมิใจและเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นพลวัตร (Dynamic) โดยมีเป้าหมายนักเรียนสำคัญที่สุด 
องค์ประกอบของการบริหารงานแบบ  TIPCo  
T    =  Teamwork        แปลว่า    การทำงานเป็นทีม
I     =   Integration       แปลว่า    การบูรณาการ
P   =   Participation   แปลว่า    การมีส่วนร่วม
               Co    =   Continuous Improvement  แปลว่า  การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
I   ย่อมาจากคำว่า   Integration   แปลว่า   การบูรณาการ  ซึ่งหมายถึง                การบูรณาการนโยบายต้นสังกัด   ภารกิจ   กิจกรรม   ความรับผิดชอบ   ทรัพยากร     บุคลากรและเทคโนโลยีนำมาหลอมรวมเป็นนโยบายและแนวคิดในการทำงาน  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการจัดการของโรงเรียนให้ได้มากที่สุด
                  P  ย่อมาจากคำว่า  Participation  หมายถึง  การมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม            ทุกขั้นตอนการดำเนินงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียน (Stakeholder) ได้แก่
ขั้นตอนการบริหารงานแบบ  TIPCo          
                  1.  วิเคราะห์ปัญหาและประเมินความต้องการจำเป็น
                  2.  วิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา
                  3.  จัดทำแผนปฏิบัติการ  
                  4.  ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ
                  5.  นิเทศติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
      6.  สรุปผลและรายงานคุณภาพการจัดการศึกษา


ที่มาจากhttp://203.172.182.215/km/index.php?option=com_content&task=view&id=32&Itemid=57

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น