วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทความเกี่ยวกับการบริหารสถานสู่ความเป็นเลิศ

 บทความผู้บริหารกับการสร้างคุณภาพสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
มิติคุณภาพของสถานศึกษา
            สถานศึกษาที่มีคุณภาพจะต้องเป็นสถานศึกษาที่มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพในเรื่องต่อไปนี้
            1.มีความเป็นผู้นำระดับมืออาชีพ  ผู้บริหารต้องมีความมั่นคง  มีความมุ่งหวัง  ใช้ยุทธศาสตร์การบริหารที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเป็นมืออาชีพระดับแนวหน้า
            2.มีเป้าประสงค์และวิสัยทัศน์ร่วมกัน  มีวัตถุประสงค์ที่เป็นเอกภาพ  มีการปฎิบัติอย่างคงที่สม่ำเสมอ  เป็นลักษณะขององค์กรแห่งความร่วมมือ
            3.มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  มีบรรยากาศที่เป็นระเบียบเรียบร้อย  สิ่งแวดล้อมในการทำงานดึงดูดใจ
            4.มีการเรียนการสอนที่เข้มแข็ง  กำหนดเวลาเรียนไว้สูง  เน้นความสำเร็จ
            5.มีการสอนที่มีความมุ่งหมาย  การจัดการที่มีประสิทธิภาพ  วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน  จัดบทเรียนอย่างมีรูปแบบ  มีการปฏิบัติที่ปรับตัวยืดหยุ่น
            6.มีความคาดหวังโดยรวมสูง  มีความท้าทายทางปัญญา
            7.มีการเสริมแรงในเชิงบวก  มีระเบียบ  กฎเกณฑ์ที่ชัดเจนและเป็นธรรม  มีข้อมูลย้อนกลับ
            8.มีการติดตามความก้าวหน้า  ติดตามการปฏิบัติงานของผู้เรียน  ประเมินผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษา
            9.ส่งเสริมความรับผิดชอบของผู้เรียน  ส่งเสริมให้ผู้เรียนเคารพนับถือตนเอง  ส่งเสริมความรับผิดชอบตามตำแหน่งหน้าที่  ควบคุมการปฏิบัติงาน
            10.มีความร่วมมือระหว่างบ้านและสถานศึกษา  ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเรียนของผู้เรียน
            11.มีการจัดการเรียนที่เป็นระบบ  ใช้สถานศึกษาเป็นฐานสำหรับการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
ผู้บริหาร  :  บทบาทการสร้างคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ
            ".......ผู้นำสถานศึกษาทุกระดับมีบทบาทความรับผิดชอบอย่างสำคัญ เพราะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในสถานศึกษานั้น ทั้งในการสร้างสรรค์                    และในการทำลาย......"  (สงบ  ประเสริฐนธ์.  2543  :  79) 
            ".......ยุคโลกาภิวัตน์  "ความรู้  คือ  อำนาจ"  ดังนั้น  ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปัจจุบันจะต้องสร้างภาพพจน์ใหม่ให้เป็นผู้นำทางวิชาการ  มีหน้าที่ในการนำแนวคิดใหม่ๆ  ไปสู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาด้านต่างๆ  ต้องทำตัวเป็นผู้จุดประกายความคิดในการพัฒนาคุณภาพงานวิชาการในโรงเรียน  ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่จะต้องนำให้บุคลากรในสถานศึกษาได้ตระหนักและให้ความสำคัญทั้งงานวิชาการ งานวิจัยศึกษาค้นคว้าหาความรู้..."(สงบ ประเสริฐพันธ์. 2543 : 90)
กระบวนการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
            สถานศึกษาที่มีคุณภาพจะมีรูปแบบกระบวนการบริหารจัดการศึกษา  เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศที่มีลักษณะเป็นระบบขั้นตอน  สามารถวิเคราะห์  ควบคุม  กำกับ  ติดตาม  ตรวจสอบได้และประเมินผลการดำเนินงานได้อย่างชัดเจนเป็นระบบขั้นตอน  สามารถนำผลมาเปรียบเทียบได้  จากผลการวิจัยตามหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง  (นบส.)  ของสำนักงาน  ก.พ. ประกอบด้วยปัจจัยหลัก  9 ประการ (สมโภชน์ นพคุณ.  2541  :  19-22)   คือ
            1.การบริหาร-ผู้นำ  เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะเป็นผู้นำองค์กรเพื่อสร้างระบบการบริการที่ดีแก่ลูกค้า (นักเรียน/ชุมชน)  และเพื่อการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมต่างๆ  ให้ดำเนินไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ
           2.การบริหารคน เป็นระบบการจัดการทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษาเพื่อส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงาน(ครูอาจารย์) ได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและปฎิบัติงาน
บรรลุเป้าหมาย
            3.นโยบายและกลยุทธ์การบริหาร  เป็นการกำหนดและพัฒนาวิสัยทัศน์จุดประสงค์ของการดำเนินธุรกิจขององค์กรและนโยบายกลยุทธ์ในการดำเนินงานให้บรรลุผล
            4.การจัดการทรัพยากรในการปฏิบัติงานในสถานศึกษา  จัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้บังเกิดประสิทธิภาพและคุ้มค่า  ลดการสูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์  มีระบบวิธีจัดการข้อมูลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพ  เกิดประโยชน์สูงสุด
           5.กระบวนการปฏิบัติงาน สถานศึกษามีการจัดโครงสร้างสะท้อนถึงลักษณะงานที่ปฏิบัติและมีกระบวนการที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกันเป็นระบบโครงสร้างรูปแบบใหม่
ที่ส่งผลต่อกระบวนการทำงาน  จะมุ่งในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการแก่ลูกค้า  ประชาชน  ผู้ซึ่งมีความต้องการที่หลากหลาย
            6.ความพึงพอใจของครู  เป็นผลจากอง๕ประกอบทั้ง  5  ประการข้างต้นก่อให้เกิดเป็นผลงาน  เกิดสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมาย
            7.ความพึงพอใจของลูกค้า/ประชาชน  ซึ่งหมายถึง  นักเรียน  ผู้ปกครอง  ประชาชน  ชุมชน  เป็นผลกระทบที่เกิดจากการปฏิบัติหรือการบริการของสถานศึกษา
            8.ผลกระทบต่อสังคม/ท้องถิ่น  วิเคราะห์จากท้องถิ่น/สังคม  มองสถานศึกษาเป็นอย่างไรต่อระบบบริหารจัดการและผลผลิตที่ส่งผลต่อสังคมนั้นๆ
            9.ผลลัพธ์จากการบริหารจัดการ  เป็นผลรวมทั้งหมดขององค์ประกอบทั้ง  8  และเป็นไปตามที่คาดหวัง  บรรลุผลสัมฤทธิ์  โดยการตรวจสอบ

ที่มาจาก : http://www.kroobannok.com/26599

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น