วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทความเกี่ยวกับการบริหารสถานสู่ความเป็นเลิศ



บทความนักบริหารมืออาชีพ
 รศ. คร. สุภัททา ปิณฑะแพทย์
การบริหารงานในทุกองค์การในยุคปัจจุบันต้องการนักบริหารมืออาชีพมาทำหน้าที่ผู้บริหารจัดการให้ก้าวทันโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากความเจริญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารทั้งภายในและภายนอกองค์การ อันเป็นภาวการณ์ที่ก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจฐานความรู้เพื่อการแข่งขันและความร่วมมือ นักบริหารมืออาชีพเท่านั้นจึงจะสามารถนำองค์การไปสู่ความสำเร็จได้
 คำนิยาม นักบริหารมืออาชีพ
นักวิชาการได้ให้นิยามของคำว่านักบริหารมืออาชีพไว้ พอสรุปได้ดังนี้ 
1. นักบริหารมืออาชีพ คือ นักบริหารที่บริหารองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยพลังของภาวะผู้นำ (Leadership forces)
 จันทนา สุขุมานันท์ รองประธานของปูนซีเมนต์ไทย ได้กล่าวถึง (2 ตค. 2548 11.30 PM แมกไม้บริหาร UBC ) การบริหารจัดการในรูปแบบของนักบริหารจัดการองค์การ ทีต้องการให้องค์การนั้นต้องมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ต้องวางแนวความคิดในด้านการบริหารจัดการภายในองค์การรวมทั้งการมีภาวะผู้นำที่ดี
1) การสร้างความเชื่อมโยงแบบพันธมิตร  (Organizational Alliance = OA) ผู้บริหารจัดการต้องยึดหลักของการสร้างความเชื่อมโยงถ่ายทอดข่าวสารให้บุคลากรในระดับต่าง ๆ ร่วมรับรู้ข้อมูลที่เป็นขององค์การ  การจัดการระบบการรับรู้ข่าวสารข้อมูลนี้เพื่อประโยชน์ในด้านการมองภาพขององค์การให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถตอบคำถามให้แก่ผู้อื่นได้ นอกจากนี้การสื่อสารที่ดียังมีผลทางด้านจิตวิทยาเพราะสามารถปลุกระดมให้ทุกคนมีความคิดไปในทิศทางเดียว การให้ข้อมูลข่าวสารเปรียบเสมือนกับการทำการตลาดภายในองค์กรนั้น ๆ ให้บุคลากรได้ทำความเข้าใจ กับแนวการบริหารงานขององค์การนั้น (Organizational design)
2) การนำสู่การเปลี่ยนแปลง (Leading Organization through Transformational Change = LOTC) ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงคือผู้ที่เข้าใจความต้องการขององค์การเพื่อตอบคำถามต่าง ๆ เช่น  ต้องการอะไร การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มจาก  รู้ว่าจะเริ่มต้นตรงไหนด้วยกระบวนการต่าง ๆ  เพื่อให้ได้ความต้องการนั้น ๆ ให้เป็นจริง ให้หลักยุทธศาสตร์การสนทนา (Strategic conversation) เพื่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทีมงาน มีการเจรจาหาข้อตกลงในการดำเนินการเพื่อให้ไปถึงจุดหลายที่วางไว้ สร้างกระบวนการทำงานด้วยกัน สำหรับในด้านลูกค้าองค์การต้องเข้าใจจิตวิทยาการบริโภคสินค้าของกลุ่มเป้าหมายเพื่อแสวงหาความต้องการของลูกค้า ผู้นำต้องมองตลาดภายนอกได้ สร้างความแตกต่างเพื่อการแข่งขัน เพื่อการได้เปรียบ ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน
3) ศึกษาสิ่งแวดล้อมที่เป็นทรัพยากรและเครื่องมือในการทำงาน (Resource and tools) การบริหารองค์การต้องศึกษาทรัพยากรที่มีอยู่ ที่เป็นเครื่องมือในการดำเนินการขององค์การ ทรัพยากรด้านเครื่องมือเป็นปัจจัยที่ทำให้รู้ว่าองค์การมีความพร้อมและมีศักยภาพในการทำกิจการประเภทใด และทรัพยากรที่มีอยู่นั้นมีการบำรุงรักษาให้คงสภาพการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) ศึกษาศักยภาพขององค์กร (Organizational Competencies = OC) ว่ามีความสามารถหรือมีคุณภาพที่จะปฏิบัติงานได้ดี ต้องศึกษาว่าควรต้องเสริมส่วนที่เป็นช่องว่าง เช่น เพิ่มเติม หรือต้องฝึกอบรมทักษะใหม่ ๆ องค์กรขาดอะไร ต้องมีความรู้เพิ่มเติมในด้านใด ศักยภาพของบุคลากรต้องสมดุลกับทรัพยากรที่เป็นเครื่องมือปฏิบัติงานขององค์การด้วย องค์การต้องจัดให้มีการประเมินเพื่อการพัฒนา โดยมีการประเมินตนเอง เพื่อนประเมิน นายประเมิน ลูกน้องประเมิน (Personal Development Index = PDI)
5) สร้างแรงจูงใจ (Employee Motivation Performance = EMP) การสร้างความรู้สึกสนุกกับการทำงานให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุข รักองค์กร มีความกระตือรือร้นในการทำงาน ไม่ใช่มาทำงานเพื่อเงิน คนที่ทำงานเพื่อองค์กร จะพยายามพัฒนาตนเอง ผู้บริหารในฐานะนำต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน คือรู้ว่าต้องการอะไร และจะทำอย่างไรจึงจะสัมฤทธิผล สื่อสารให้ทุกคนรู้ ประเมินสภาพแวดล้อม รู้ศักยภาพขององค์กร กระตุ้นให้องค์กรขับเคลื่อนด้วยการจูงใจ
2. นักบริหารมืออาชีพ คือ นักบริหารที่สร้างคุณค่าเพิ่ม (Value-added Managers = VM)
          ในการบริหารงานในปัจจุบันทุกองค์การใช้ประสิทธิภาพของตัวผลผลิตเป็นตัวแสดงผลสัมฤทธิ์ขององค์การและมักจะเป็นตัววัดเปรียบเทียบของการบริหารจัดการและความสำเร็จขององค์การ ในยุคปัจจุบันนี้การบริหารงานไม่ใช่เพียงแต่ให้งานเสร็จลุล่วงไปเท่านั้น แต่งานที่ทำต้องเป็นผลงานที่ดีที่สุดมีความคุ้มค่าเหมาะสมกับทรัพยากรที่ใช้ซึ่งก็คือ คนและวัสดุอุปกรณ์ (man and material)
          4. นักบริหารมืออาชีพ คือ ผู้จุดประกาย (Inspirer)  
นักบริหารมืออาชีพต้องมีความสามารถในการจุดประกายให้ผู้ปฏิบัติเกิดความฮึกเหิม พร้อมที่จะตกลงใจเข้าร่วมทำงานอย่างเต็มที่  การที่จะเป็นผู้บริหารที่น่าเชื่อถือในระดับสูงของหน่วยงานได้นั้นเป็นผลที่สืบเนื่องและเกี่ยวข้องจากความมุมานะของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาและทีมงานที่ทำให้เกิดผลงานที่เป็นไปได้ตามความคาดหวัง ในขณะเดียวกันเกิดจากการเป็นผู้รับผิดชอบในงานและเป็นที่พึ่งพาของผู้ที่เข้ามาร่วมทำงาน สร้างขวัญและกำลังใจให้เกิดประกายความสุขในขณะปฏิบัติงาน และเพิ่มพลังวามคิดที่จะสืบสานงานให้มีความโดดเด่นมากขึ้น
 คุณสมบัติของนักบริหารมืออาชีพ
ในการเป็นนักบริหารมืออาชีพนั้นจำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นที่ยอมรับในระดับพื้นฐานและในระดับสูง ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดความเป็นมืออาชีพได้  
1. คุณสมบัติด้านส่วนบุคคล
1) มีความรับผิดชอบสูง 2) มีความขยันหมั่นเพียร 3) มีความอดทน/อุสาหะ 4) มีความซื่อสัตย์สุจริต 5) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 6) มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์/กระตือรือร้นในการทำงาน 7) มีทักษะในการวินิจฉัยสั่ง การ 8) มีการรักษาระเบียบวินัยที่ดี 9) มีความตรงต่อเวลา/การบริหารเวลา 10) มีบุคลิกภาพที่ดี
2. คุณสมบัติด้านการศึกษา
การกำหนดคุณสมบัติของผู้บริหารนั้นมีผู้เสนอความคิดว่าควรมีความรู้ในด้านการบริหารจัดการ โดยเฉพาะในการที่จะแสดงความนักบริหารมืออาชีพนั้น จะต้องมีวิสัยทัศน์กว้าง นักบริหารมืออาชีพจึงต้องใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ศึกษาหาความรู้ จากประสบการณ์และการอบรม เพื่อให้เกิดความคิดใหม่ ๆ ในการบริหารจัดการ  ดังเช่น ในวงการการศึกษาที่มอกเห็นความสำคัญของการพัฒนาผู้บริหารให้เป็นมืออาชีพ ด้วยความคิดนี้ในปัจจุบัน จึงทำให้ผู้บริหารการศึกษาต้องมีใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ต้องมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการบริหารตามที่กำหนด  
 3. คุณสมบัติที่เป็นด้านประสบการณ์ และผลสำเร็จในการปฏิบัติงานที่ผ่านมา    
คุณสมบัติด้านประสบการณ์การทำงานเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถในการบริหารจัดการ ซึ่งประเมินได้จากผลงานและประสบการณ์ที่ผ่านมาในภารกิจหน้าที่ที่จะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติซึ่งจำแนกออกได้ดังนี้ คุณวุฒิ/ประสบการณ์/ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ที่ผ่านมาตามภารกิจหน้าที่กำหนดหรือเกี่ยวข้อง ผลสำเร็จในการปฏิบัติงานในช่วงที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถและงานที่ปฏิบัติจนบรรลุผล ตามแผนการดำเนินงานและแผนพัฒนางาน ฯลฯ ในตำแหน่งหน้าที่ที่จะปฏิบัติงาน
 ความเก่งกล้าแบบนักบริหารมืออาชีพ
ประการแรก ความเก่งกล้าในการรู้จักบทบาทและหน้าที่ของตน และพร้อมทั้งเข้าใจบทบาทของตนและผู้อื่น มืออาชีพจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับงานที่เป็นความรับผิดชอบของผู้อื่นถ้าไม่ได้รับดังนั้นถ้าไม่ได้นับการมอบหมายจากผู้มีอำนาจสั่งการหรือได้รับการร้องขอ  การให้ความเห็นใจเข้าไปช่วยเหลืออาจนำผลเสียมาสู่องค์กรได้ การกระทำเช่นนี้อาจกลายเป็นการก้าวก่ายการทำงานของผู้อื่น มืออาชีพจึงมักมีความระมัดระวังในการสั่งการให้บุคคลที่ตนมีอำนาจสั่งการทำงานในส่วนที่ตนรับผิดชอบให้ดีที่สุด ผู้บริหารที่ชอบสั่งการไปทั่วจึงเกิดภาพลักษณ์ว่าก้าวก่ายหรือล้ำเส้นผู้อื่น ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งในองค์กรและแตกความสามัคคี แนวความคิดนี้ไม่ใช่เป็นการเสนอแนะให้เกิดความคิดว่าธุระไม่ใช่แต่เป็นการสร้างความตระหนักให้เข้าใจว่าควรจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการงานของหน่วยงานอื่น ๆ ได้อย่างไร และในขอบเขตใด
ประการที่สอง  ความเก่งกล้าในการคิดเองทำเองได้ เมื่อมีงานที่ต้องจัดการบริหารให้ประสบความสำเร็จ ก็สามารถแสวงหาแนวทางในการดำเนินงานนั้นได้จนบรรลุเป้าหมายโดยไม่ต้องให้มีการสั่งการเป็นคำสั่งในแต่ละขั้นตอน มีความคิดในการแก้ปัญหาได้  การคิดเองได้คือความสามารถของบุคคลที่มองเห็นลู่ทางในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จได้ อาจเป็นการแสวงหาแนวทางเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ของงานที่วางไว้ อาจเป็นการคิดหาแนวทางใหม่ที่ดีกว่าเดิม หรือการ งานบางอย่างต้องการการคิดหาแนวทางที่ การสังเกตว่าบุคคลที่ทำงานหนึ่งงานใดคิดเองได้ คือ การสังเกตการปฏิบัติ
ประการที่สาม ความเก่งกล้าในการรับผิดและรับชอบในสิ่งที่กระทำและผลที่จะได้รับ ยอมรับและจัดการกับผลงานนั้นทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ยอมรับความดีและความผิดพลาดและพร้อมที่จะพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ไม่โยนความผิดหรือคิดหาทางถ่ายเทปัญหาไปให้ผู้อื่น ผู้นักบริหารที่ไม่ใช่มืออาชีพมักจงใจผลักดันปัญหาไปให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคือคนอื่น มืออาชีพจะไม่ขยายความผิดพลาดให้แก่ผู้อื่นหรือทำให้เป็นเรื่องใหญ่โตขึ้น และจะไม่ปิดบังหรือกลบเกลื่อนความผิดของตนเองด้วยการให้ร้ายผู้อื่น จะไม่พูดแก้ตัวแต่จะขอโทษและขอโอกาสในการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
ประการที่สี่ ความเก่งกล้าในการตัดสินใจ การงานและผู้เกี่ยวข้อง
ประการที่ห้า ความเก่งกล้าในการให้เกียรติผู้อื่น นักบริหารต้องคำนึงถึงการปฏิบัติตนตามมารยาททางธุรกิจและ
 ประการที่หก ความเก่งกล้าในการรักษาเกียรติของตนเอง
ประการที่เจ็ด ความเก่งกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี
ประการที่แปด ความเก่งกล้าในความยืดหยุ่น ความยืดหยุ่นของนักบริหารมืออาชีพคือการไม่ยืดติดกับสิ่งที่เป็นกฎเกณฑ์มากจนเกินความจำเป็น
ประการที่เก้า ความเก่งกล้าในการบริหารเสน่ห์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะพิเศษของนักบริหารมืออาชีพด้วยการเป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือและความไว้วางใจจากองค์การให้บริหารงาน การทำให้ทุกคนที่ทำงานสามารถทำงานได้อย่างสะดวกสบายและมีความสุขในการทำงานคือการบริหารเสน่ห์ ประการที่สิบ ความเก่งกล้าในเรื่องมนุษยธรรมกับการทำงาน
สรุป
โดยสรุปแล้วพฤติกรรมนักบริหารมืออาชีพย่อมแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะเฉพาะที่จำเป็นในการบริหารในระดับที่สูง คุณลักษณะเหล่านี้จะถูกบ่มเพาะด้วยประสบการณ์ส่วนหนึ่งและต้องได้รับการลับให้คนด้วยการฝึกฝนและพัฒนาตนเองเพื่อการเข้าสู่การเป็นนักบริหารที่แท้จริงอีกส่วนหนึ่ง ลักษณะนิสัยของบุคคลบางประการอาจเป็นตัวบ่อนทำลายประสิทธิภาพของการทำงานของบุคลากรและนำความเสียหายในด้านผลประกอบการของหน่วยงานด้วย ดังนั้นการเป็นนักบริหารมืออาชีพจึงต้องมีการตระหนักรู้ในบริบทของการเป็นนักบริหารและพัฒนาตนเองให้รู้เท่าทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
ที่มาจากhttp://www.supatta.haysamy.com/profmgr.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น