วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 8

ตามที่อาจารย์ให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับการใช้การใช้โปรแกรม SPSS OF WINDOWS ทบทวนพื้นฐานโดยให้นักศึกษาสรุปหัวข้อประเด็นดังนี้
1.ความหมายคำว่าสถิติ อ่านความหมายจากนักวิชาการหลาย ๆท่านแล้วสรุปเป็นความคิดของนักศึกษา
2.ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความหมายว่าอย่างไร และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด
3.คำว่าประชากร และกลุ่มตัวอย่างเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ให้อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
4.นามบัญญัติ ระดับอันดับที่ ระดับช่วง ระดับอัตราส่วน ท่านเข้าใจอย่างไร อธิบายสั้น ๆ
5.ตัวแปรคืออะไร ตัวแปรต้นคืออะไร ตัวแปรตามคืออะไร
6.สมมติฐาน คืออะไร สมมติฐานการวิจัยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
7. T-test, F-test เหมือนหรือต่างอย่างไร
ให้นักศึกษาตอบลงในWebboard ของนักศึกษาเอง ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติในเสาร์หน้า ทำให้เสร็จก่อนเรียน มีคะแนนให้ ใช้ความคิคจากการที่อ่านและศึกษาจาก http://www.google.co.th/
ตามที่อาจารย์ให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับการใช้การใช้โปรแกรม SPSS OF WINDOWS ทบทวนพื้นฐานโดยให้นักศึกษาสรุปหัวข้อประเด็นดังนี้1.ความหมายคำว่าสถิติ อ่านความหมายจากนักวิชาการหลาย ๆท่านแล้วสรุปเป็นความคิดของนักศึกษา
ตอบสถิติ หมายถึง ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข เช่นสถิติการสมัครเข้าเรียนในสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี ปีการศึกษา 2549

สถิติในความหมายของศาสตร์ หรือ เรียกว่า “สถิติศาสตร์” หรือวิชาสถิติเป็นวิชาแขนงหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่ว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การตีความหรือการแปลความหมายของข้อมูล
สถิติเป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดกระทำกับข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 สถิติพรรณนา เป็นวิชาสถิติที่ว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้นและผลที่ได้จะยังไม่นำไปสรุปความหรือกล่าวอ้างอิงถึงกลุ่มอื่น เช่น 1.1.1 การแจกแจงความถี่ของข้อมูล
1.1.2 การวัดการกระจาย
1.1.3 การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
1.2 สถิติอนุมาน เป็นสถิติที่ว่าด้วยการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยมี จุดประสงค์เพื่อสรุปอ้างอิงผลไปสู่ข้อมูลประชากร
1.2.1 การประมาณค่า
1.2.2 การทดสอบสมมติฐาน

2.ตอบ
ฐานนิยม (Mode)หมายถึง ค่าที่มีความถี่มากที่สุด
ค่าเฉลี่ยค่าเฉลี่ย (Mean : X)
X = ΣX/n

ตอบ ค่ามัธยฐาน ค่ากลาง หมายถึง ค่าที่ใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลทั้งหมด
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นค่าที่บอกให้ทราบว่า ค่าวัดการกระจายห่างจากค่าเฉลี่ยมากน้อยเพียงใดในแต่ละช่วงของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ถ้ามีค่าสูงแสดงว่ามีการกระจายมาก
ภายใน 1 ช่วงของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่เบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ย จะมีจำนวน(คน/ข้อมูล) อยู่ในช่วงนั้นประมาณ 68%
และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด3.คำว่าประชากร และกลุ่มตัวอย่างเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ให้อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบประชากร (Population)
หน่วยของข้อมูล (Element หรือบางครั้งเรียก Unit of Data) ทุกหน่วยที่อยู่ในขอบเขตของข้อมูลวิจัย
ตัวอย่าง : การวิจัยเรื่องเจตคติของอาจารย์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานีที่มีต่อการจัดกิจกรรมวันลอยกระทง
หน่วยข้อมูล : อาจารย์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี แต่ละคน
ประชากร : อาจารย์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี ทุกคน
ตัวอย่าง : การวิจัยเรื่องเจตคติของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานีที่มีต่อการจัดกิจกรรมวันลอยกระทง
หน่วยข้อมูล : อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี แต่ละคน
ประชากร : อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี ทุกคน
4.นามบัญญัติ ระดับอันดับที่ ระดับช่วง ระดับอัตราส่วน ท่านเข้าใจอย่างไร อธิบายสั้น ๆ5.ตัวแปรคืออะไร
ตอบตัวแปรการวิจัย คือ คุณลักษณะ/ปรากฏการณ์ ที่เปลี่ยนจากคนหนึ่ง (สิ่งหนึ่ง) ไปยังอีกคนหนึ่ง(สิ่งหนึ่ง) สามารถสังเกตได้ บันทึกได้ โดยใช้ข้อความ หรือ ตัวเลข เช่น
1. เพศ (มี 2 ค่า คือ ชาย,หญิง)
2. คะแนน (1,2,3,................)
3. ศาสนา( พุทธ/ คริตสเตียน /อิสลาม.....)
ตัวแปรต้นคืออะไร
ตอบตัวแปรแบ่งตามลักษณะการเกิด
1.ตัวแปรตาม(Dependent Variable)
ตัวแปรที่มีผลจากตัวแปรต้น ค่าของตัวแปรตามจะเปลี่ยนไปตามปัจจัยในตัวแปรต้น
2. ตัวแปรอิสระ หรือ ตัวแปรต้น (Independent Variable)
ตัวแปรที่เป็นเหตุให้ตัวแปรตามเปลี่ยนแปลงไป
3. ตัวแปรเกิน (Extraneous Variable)
ตัวแปรที่อาจจะเป็นเหตุให้ตัวแปรตามเปลี่ยนแปลงไป
4. ตัวแปรแทรกซ้อน (Intervening Variable)
ตัวแปรที่แสดงบทบาทให้ตัวแปรตามเปลี่ยนไป นอกเหนืออำนาจของนักวิจัยจะควบคุมได้
ตัวแปรตาม คือ คะแนน (ประสิทธิภาพทางการเรียน)
ตัวแปรต้น คือ แบบเรียน (เป็นต้นเหตุที่นักวิจัยสนใจ นำมาศึกษา เพียงอย่างเดียว)
ตัวแปรเกิน คือ วิธีสอน ความสนใจ สติปัญญาของนักเรียน บรรยากาศในห้องเรียน ฯลฯ)
ตัวแปรแทรกซ้อน คือ ยังตอบไม่ได้ ต้องคอยสังเกตในช่วงดำเนินการวิจัย
6.สมมติฐาน คืออะไร สมมติฐานการวิจัยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบสมมติฐาน คือ การคาดคะเนอย่างมีหลักการว่า ผลการวิจัยน่าจะออกมาในรูปใด อันจะนำไปสู่การพิสูจน์ โดยการทดสอบทางสถิติ หรือวิธีอื่น ๆ ต่อไป แบ่งได้ 3 ชนิด คือ
1. สมมติฐานการวิจัย(Research Hypothesis)
2. สมมติฐานเชิงปฏิบัติการ (Operational Hypothesis)
3. สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)
7. T-test,ความหมาย
ตอบ เป็นเครื่องมือวัดทางพุทธิพิสัย(Cognitive Domain) ของมนุษย์ ใช้เมื่อต้องการวัดความรู้ความสามารถของคน หรือ ที่รู้จักกันในนามของข้อสอบนั่นเอง
ชนิดของแบบทดสอบ
1.แบบทดสอบไม่จำกัดเวลา (Power Test)
2.แบบทดสอบจำกัดเวลา (Speed Test)
3.แบบทดสอบกลุ่ม (Group Test)
4.แบบทดสอบรายบุคคล (Individual Test)
ตอบF-test คือการทดสอบหาค่าของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่สามตัวอย่างขึ้นไปต่างกับ t- tes เป็นการทอสอบจากข้อสอบให้นักศึกษาตอบลงในWebboard ของนักศึกษาเอง ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติในเสาร์หน้า ทำให้เสร็จก่อนเรียน มีคะแนนให้ ใช้ความคิคจากการที่อ่านและศึกษาจาก http://www.google.co.th/
เขียนโดย apichatwat53 ที่ 10:56 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้

1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545, สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
2 การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้, ดร.รุ่ง แก้วแดง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, สิงหาคม 2545
3 อ้างแล้วข้อ 2
4 คุรุสภา, เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษา, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2540

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น